trachu.com ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
04 พฤษภาคม 2024, 10:31:25 pm
หน้าแรก หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ กระดานข่าวตราชูดอทคอม ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย


+  TRACHU.COM : ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย
|-+  ชุมชนกฎหมาย
| |-+  ถามตอบปัญหากฎหมายสำหรับประชาชน (ผู้ดูแล: มโนธรรม)
| | |-+  ทางภาระจำยอมทางเดิน
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ทางภาระจำยอมทางเดิน  (อ่าน 4399 ครั้ง)
ivekung03
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4


« เมื่อ: 28 มกราคม 2016, 06:28:35 pm »

อยากถามว่า ในโฉนดที่ดินไม่ได้กำหนดว่าทางภาระจำยอมมีขนาดเท่าไหร่ อยากถามว่าเราสามารถกำหนดทางภาระจำยอมส่วนหนึ่งเองเลยได้หรือไม่คะ
บันทึกการเข้า
มโนธรรม
รองผู้ดูแลระบบ
รุ่นเก๋า
*

ค่าพลัง: +13/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 811


« ตอบ #1 เมื่อ: 29 มกราคม 2016, 05:28:29 am »

"ทางภาระจำยอม"
แม้ไม่มีกำหนดไว้ ในโฉนดที่ดิน   แต่ถ้ามีการบุกรุกที่ดินใช้ทางเกิน  10 ปี  ก็ย่อมเกิดทางภาระจำยอม  โดยผลของกฎหมาย ส่วนขนาดความกว้างของทาง   ก็ถือตามความเป็นจริงที่เขาใช้กันมาอยู่เสมอ จะกำหนดให้เขาไปเปลี่ยนทางเดิมใหม่ก็ย่อมได้ แต่ผู้ใช้สิทธิ์ในทางภาระจำยอมนั้น ต้องยินยอมด้วย เพราะกฎหมายให้สิทธิผู้ใช้ภาระจำยอมไว้ชัดเจน..เมื่อเจรจาเรื่องขนาดความกว้างของทางภาระจำยอมได้ลงตัวแล้ว   ควรทำแนวเขตไว้ให้ชัดเจน  โดยปักเสาคอนกรีตตลอดแนว  เพื่อป้องกันปัญหาการรุกล้ำใช้ทางเกินกว่าที่กำหนด ครับ
กฎหมายที่ใช้อ้างอิงบางส่วน...

มาตรา 1388 เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิทำการเปลี่ยนแปลงใน ภารยทรัพย์หรือในสามยทรัพย์ซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์

 

มาตรา 1389 ถ้าความต้องการแห่งเจ้าของสามยทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป ท่านว่าความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ให้สิทธิแก่เจ้าของสามยทรัพย์ที่จะทำให้เกิด ภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ได้

 

มาตรา 1390 ท่านมิให้เจ้าของภารยทรัพย์ประกอบกรรมใด ๆ อันจะ เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก

 

มาตรา 1391 เจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิทำการทุกอย่างอันจำเป็นเพื่อ รักษาและใช้ภารจำยอม แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายของตนเองในการนี้เจ้าของ สามยทรัพย์จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ภารยทรัพย์ได้ก็แต่น้อยที่สุดตาม พฤติการณ์
 

 เจ้าของสามยทรัพย์ต้องเสียค่าใช้จ่ายของตนเองรักษาซ่อมแซมการที่ได้ ทำไปแล้วให้เป็นไปด้วยดี แต่ถ้าเจ้าของภารยทรัพย์ได้รับประโยชน์ด้วยไซร้ ท่านว่าต้องออกค่าใช้จ่ายตามส่วนแห่งประโยชน์ที่ได้รับ

 

มาตรา 1392 ถ้าภารจำยอมแตะต้องเพียงส่วนหนึ่งแห่งภารยทรัพย์ เจ้า ของทรัพย์นั้นอาจเรียกให้ย้ายไปยังส่วนอื่นก็ได้ แต่ต้องแสดงได้ว่าการย้ายนั้น เป็นประโยชน์แก่ตนและรับเสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ต้องไม่ทำให้ความสะดวกของ เจ้าของสามยทรัพย์ลดน้อยลง

 

มาตรา 1393 ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในนิติกรรมอันก่อให้ เกิดภารจำยอมไซร้ ท่านว่าภารจำยอมย่อมติดไปกับสามยทรัพย์ซึ่ง ได้จำหน่ายหรือตกไปในบังคับแห่งสิทธิอื่น
 

   ท่านว่าจะจำหน่าย หรือทำให้ภารจำยอมตกไปในบังคับแห่งสิทธิอื่น ต่างหากจากสามยทรัพย์ไม่ได้

 

มาตรา 1394 ถ้ามีการแบ่งแยกภารยทรัพย์ ท่านว่าภารจำยอมยังคงมี อยู่ทุกส่วนที่แยกออก แต่ถ้าในส่วนใดภารจำยอมนั้นไม่ใช้และใช้ไม่ได้ตาม รูปการ ท่านว่าเจ้าของส่วนนั้นจะเรียกให้พ้นจากภารจำยอมก็ได้

..... ความหมายของคำบางคำ.....
-เจ้าของสามยทรัพย์  คือผู้มีสิทธิ์ใช้ทางภาระจำยอม
-เจ้าของภารยทรัพย์  คือผู้ต้องรับภาระให้ผู้อื่นใช้ทางภาระจำยอม คือคุณผู้ถาม ครับ
 
บันทึกการเข้า
ivekung03
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4


« ตอบ #2 เมื่อ: 29 มกราคม 2016, 08:24:10 am »

ถ้าถนนเคยเป็นของเรา แต่ญาติตกลงกับเจ้าของบ้านข้างๆ ให้ใช้ทางร่วมได้ (ทางร่วม กับ ทางภาระจำยอมทางเดิน เหมือนหรือต่างกันคะ) ญาติเสีย ทำให้ติดข้อตกลงทางร่วมมา แบบนี้ใช้กฎหมายข้อไหนใช้สิทธิ์เราสร้างกำแพงแบ่งสัดส่วนได้บ้างคะ แล้วถ้าสร้างกำแพงบ้านทั่วไป สูงได้กี่เมตรคะ
บันทึกการเข้า
มโนธรรม
รองผู้ดูแลระบบ
รุ่นเก๋า
*

ค่าพลัง: +13/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 811


« ตอบ #3 เมื่อ: 29 มกราคม 2016, 05:05:15 pm »

"การยินยอมกับทางภาระจำยอม"
การยินยอมให้ใช้ทางเดินทางผ่านที่ดิน ไม่ทำให้เกิดทางภาระจำยอม  แม้จะใช้นานเกิน 10 ปี  การจะเกิดทางภาระจำยอมได้ ต้องเป็นการบุกรุกเข้ามาใช้ทางผ่านที่ดินโดยพลการ  แต่เราไม่ได้โต้แย้ง  เมื่อเกิน 10 ปี ก็จะเป็นทางภาระจำยอม   กรณีที่ถาม  ถ้ามีการฟ้องร้องให้จดทะเบียนทางภาระจำยอม  ก็ต้องต่อสู้ว่า  ไม่ใช่ทางภาระจำยอม เพราะเป็นการเอื้ออาทรให้ใช้ทางผ่านเท่านั้น   แต่...การจะหาพยานหลักฐานมายืนยันว่า เป็นการยินยอม หรือเขาบุกรุกใช้ทางเอง  ก็คงหาได้ไม่ง่ายนัก  ตามความเห็น   การให้ผู้อื่นใช้ทางผ่านที่ดิน  ถือว่าเป็นการสร้างกุศลที่ใหญ่หลวง ควรเมตตาให้เขาใช้ต่อไปเถิด.....ส่วนความสูงของกำแพง มีกฎกระทรวง (ตาม พรบ.ควบคุมอาคารฯ)ข้อ 47 ระบุว่า..
ข้อ ๔๗ รั้วหรือกำแพงที่สร้างขึ้นติดต่อหรือห่างจากถนนสาธารณะน้อยกว่าความสูงของรั้วให้ก่อสร้างได้สูงไม่เกิน ๓ เมตร เหนือระดับทางเท้าหรือถนนสาธารณะ

.....แนวคำพิพากษาศาลฎีกา ในข้อกฎหมาย  เรื่องทางภาระจำยอม...
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1563/2550
 นาย.....................
    โจทก์
 
นาย.....................
    จำเลย
 
 

 

ป.พ.พ. มาตรา 1382, 1401

 

          การอยู่ร่วมกันของคนในชนบทตามปกติจะใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านได้โดยถือวิสาสะ อันเป็นการเอื้อเฟื้ออาทรต่อกัน การใช้ทางพิหลอกลวงของโจทก์ในลักษณะเช่นว่านี้ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิหลอกลวงในลักษณะปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แม้จะใช้นานกว่า 10 ปี ทางพิหลอกลวงก็ไม่ตกเป็นภาระจำยอมแก่โจทก์โดยอายุความตามมาตรา 1401

 

________________________________

 


          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 11305 ส่วนจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 5414 ที่ดินโจทก์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะโจทก์ใช้ทางคันดินกว้างประมาณ 2 ศอก สูงประมาณ 1 ศอก ยาวประมาณ 4.5 เส้น ซึ่งเป็นคันกั้นเขตที่ดินของจำเลยกับนายทองคำ ธรรมปัญญา โดยอยู่ในที่ดินของจำเลย 1 ศอก อยู่ในที่ดินของนายทองคำ 1 ศอก เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะเป็นเวลา 18 ปีแล้ว ทางดังกล่าวจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์โดยอายุความ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2538 จำเลยและบริวารทำลายคันดินในส่วนที่อยู่ในที่ดินของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายใช้เส้นทางไม่สะดวก ขอให้พิพากษาว่า ทางพิหลอกลวงตามรูปแผนที่ท้ายฟ้องตกเป็นทางภาระจำยอม ให้จำเลยซ่อมแซมคันดินพิหลอกลวงให้อยู่ในสภาพเดิม หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการแล้วให้จำเลยออกค่าใช้จ่าย

         จำเลยให้การว่า คันดินพิหลอกลวงมีความกว้างเพียง 1 ศอก ยาวตลอดแนวเพียง 3.18 เส้น บางส่วนอยู่ในที่ดินของนายทองคำทั้งหมด โจทก์และบริวารอาศัยคันดินพิหลอกลวงเดินเข้าออกในลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัย มิใช่โดยปรปักษ์ ทางพิหลอกลวงจึงไม่ใช่ภาระจำยอมขอให้ยกฟ้อง

         ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ทางพิหลอกลวงตามเส้นสีฟ้าในแผนที่วิวาทหมาย จ.1 ซึ่งอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5414 ตำบลบ้านพริก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ของจำเลย ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11305 ตำบลบ้านพริก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ของโจทก์ ให้จำเลยซ่อมแซมทางพิหลอกลวงที่จำเลยขุดออกให้ทางมีความกว้าง 80 เซนติเมตร ตามสภาพเดิมตลอดทางตั้งแต่ทางสาธารณะไปจนถึงที่ดินของโจทก์ หากจำเลยไม่ดำเนินการก็ให้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่าย ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

        จำเลยอุทธรณ์

        ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ

        โจทก์ฎีกา

        ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 11305 ตำบลบ้านพริก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก โดยซื้อมาตั้งแต่ปี 2513 ส่วนจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 5414 ตำบลบ้านพริก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก โดยซื้อมาตั้งแต่ปี 2534 ที่ดินของโจทก์และที่ดินของจำเลยอยู่ติดต่อกัน โจทก์ใช้ทางพิหลอกลวงซึ่งเป็นคันนาแบ่งเขตที่ดินของจำเลยกับที่ดินของนายทองคำ ธรรมปัญญา เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะตลอดมา ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า ทางพิหลอกลวงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์โดยอายุความหรือไม่ โจทก์และจำเลยนำสืบรับกันว่า ตามปกติประเพณีของท้องถิ่นสามารถใช้คันนาเป็นทางเดินได้ทั่วถึงกันโดยไม่มีการหวงห้าม เห็นว่า การได้ภาระจำยอมโดยอายุความนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิดังกล่าวไว้ในลักษณะ 3 แห่งบรรพ 4 มาใช้บังคับโดยอนุโลม กล่าวคือจะต้องเป็นกรณีที่เจ้าของสามายทรัพย์ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินภารยทรัพย์นั้นโดยความสงบและโดยเปิดเผย และด้วยเจตนาจะได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 แต่จากข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยนำสืบรับกันดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การอยู่ร่วมกันของคนในชนบทตามปกติแล้วจะใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านได้โดยถือวิสาสะ อันเป็นการเอื้อเฟื้ออาทรต่อกันของคนในสังคม การใช้ทางพิหลอกลวงของโจทก์ก็เข้าอยู่ในลักษณะเช่นว่านี้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิหลอกลวงในลักษณะปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แม้โจทก์จะใช้ทางพิหลอกลวงผ่านที่ดินของจำเลยนานกว่า 10 ปี ทางพิหลอกลวงก็ไม่ตกเป็นภาระจำยอมแก่โจทก์โดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกฟ้องจึงชอบแล้ว”

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.


 

 

( เรวัตร อิศราภรณ์ - ประทีป เฉลิมภัทรกุล - วีระชาติ เอี่ยมประไพ )

 

บันทึกการเข้า
มโนธรรม
รองผู้ดูแลระบบ
รุ่นเก๋า
*

ค่าพลัง: +13/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 811


« ตอบ #4 เมื่อ: 29 มกราคม 2016, 05:07:02 pm »

.....แนวคำพิพากษาศาลฎีกา ในข้อกฎหมาย  เรื่องทางภาระจำยอม...แก้เป็น .....แนวคำพิพากษาศาลฎีกา ในปัญหาข้อกฎหมาย  เรื่องทางภาระจำยอม...
บันทึกการเข้า
ivekung03
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4


« ตอบ #5 เมื่อ: 29 มกราคม 2016, 05:44:49 pm »

ถ้าสมมุติว่าทางร่วมกว้าง 2 เมตร ยาว 5 เมตร ถ้าแบ่งครึ่งถนน ฝั่งเขา ฝั่งเราจะได้มั้ยคะ คือคนที่เขาขอใช้ทางร่วม เขาไม่ได้ประสงค์ดีกับคนอื่นคะ ญาติถูกหลอกให้อนุญาตคะ ถ้าอนุญาตให้ผ่าน ฝั่งเราจะเป็นที่ตาบอดคะ ไม่พอจะออกจากบ้านไม่ได้ อีกฝั่งเขาหวังทีีดินฝั่งเราคะ ถึงอยากทราบว่าเรากำหนดส่วนเราได้มั้ยคะ
บันทึกการเข้า
มโนธรรม
รองผู้ดูแลระบบ
รุ่นเก๋า
*

ค่าพลัง: +13/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 811


« ตอบ #6 เมื่อ: 29 มกราคม 2016, 08:17:36 pm »

อ่านไม่เข้าใจ ครับ
บันทึกการเข้า
ivekung03
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4


« ตอบ #7 เมื่อ: 30 มกราคม 2016, 06:34:10 am »

ที่บ้านมี มีประตูบ้าน ทางเดินเข้าตัวบ้าน ตรงทางเดินช่วงระหว่างตัวบ้าน หน้ากว้าง 2 เมตร ลึก5 เมตร ถ้ายินยอมให้ใช้ทางร่วมทั้งหมด ขนาด 2*5 จะไม่สามารถเดินออกจากบ้านไปประตูบ้านเดิมได้ จึงอยากถามว่า เราสามารถแบ่ง 2*5 เมตรนี่ทเป็น 1*5 ได้หรือไม่
บันทึกการเข้า
มโนธรรม
รองผู้ดูแลระบบ
รุ่นเก๋า
*

ค่าพลัง: +13/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 811


« ตอบ #8 เมื่อ: 30 มกราคม 2016, 09:20:53 am »

ถ้าเป็นทางภาระจำยอมแล้ว   คงทำไม่ได้ ตาม ม.1390  ดังกล่าวข้างต้น  แต่ถ้าผลการเจรจาฝ่ายเขายินยอมก็ทำได้ ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น


Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง