TRACHU.COM : ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย

ชุมชนกฎหมาย => ถามตอบปัญหากฎหมายสำหรับประชาชน => ข้อความที่เริ่มโดย: Rattapan P. ที่ 10 พฤษภาคม 2016, 02:07:41 pm



หัวข้อ: โดนห้ามขายของแบรนด์ ในเว็บขายของมือสอง
เริ่มหัวข้อโดย: Rattapan P. ที่ 10 พฤษภาคม 2016, 02:07:41 pm
ผมขายของแบรนด์ จำพวกเสื้อผ้า ในเว็บดัง ที่เขาให้ลงขายฟี ขายได้สองปี มีการต่ออายุประกาส ทุกสามสิบวันตามเงื่อนไขเว็บ  อยู่มาวันหนึ่ง เว็บถอดประกาศ ของ สินค้าแบรนด์ ยี่ห้อหนึ่ง ยี่ห้อเดียว ให้เหตุผลว่า ทางแบรนด์แจ้งมาทางเว็บว่าสินค้าที่ผมลงประกาสเป้นของลอกเลียนแบบ   ทางเว็บเลยถอดประกาสเฉพาะแบรนด์นั้นออก และ บอกว่า ถ้าอยากลงต่อ ให้นำใบเสร็จมาแสดง ว่าเป็นสินค้าจริง 



คำถามคือ
1. แบรนด์ มีสิทธิ ห้ามเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน คือผม ในการขายของของมือสองผมแบบนี้ไหมครับ ถ้าคิดแบบนี้ ทำไม รถมือสองขายได้ แต่เสื้อมือสองขายไม่ได้
2. เจ้าของแบรนด์ เอาข้อกฎหมายอะไรมาห้าม คนขายสินค้ามือสอง ของแท้ ผมอ่าน พรบ. ลิขสิทธิ์ ปี 2537 ไม่พบว่าตรงไหนให้อำนาจเจ้าของลิขสิทธิ์ทำแบบนี้ มีข้อกฎหมายอื่นควบคุมเรื่องนี้ไหมครับ 
3. การพิสูจน์ความแท้   ทำไม เจ้าของแบรนด์ ต้องให้พ่อค้ามือสองพิสูจน์ความแท้ได้ก่อน จึงมีสิทธิขาย  ทำไมภาระ ไม่อยู่ที่เจ้าของแบรนด์ ต้องพิสูจน์ว่าเทียมก่อน แล้วจึงเอาผิด เช่นห้าม หรือ ฟ้อง  มิใช่หรือ   เหมือน ผมเดินไปตามถนน ร้องบอกว่าคนที่เดินสวนมาเอาเงินผมไปห้าพัน  เป็นหน้าที่ผมต้องพิสูจน์สิทธิ์ ว่าเป็นเงินผมก่อนผมจะร้อง  ไม่ใช่ผมร้องลอยๆแล้วให้เป็นหน้าทีเขาต้องพิสูจน์สิทธิว่าเป็นเงินของเขา


หัวข้อ: Re: โดนห้ามขายของแบรนด์ ในเว็บขายของมือสอง
เริ่มหัวข้อโดย: มโนธรรม ที่ 10 พฤษภาคม 2016, 09:03:37 pm
สินค้ามีลิขสิทธิ์
1. แบรนด์ มีสิทธิ ห้ามเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน คือผม ในการขายของของมือสองผมแบบนี้ไหมครับ ถ้าคิดแบบนี้ ทำไม รถมือสองขายได้ แต่เสื้อมือสองขายไม่ได้

ตอบ...ห้ามได้  เพราะมีกฎหมายระบุไว้ชัดเจน ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537  ม.27 (2) คือ  ห้าม  "  เผยแพร่ต่อสาธารณชน"...ส่วนขายรถมือสอง  ก็เป็นข้อยกเว้น ตาม ม.32  คือ  " มาตรา ๓๒ การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์"
สรุปง่ายๆ  การซื้อขายรถมือสอง  ไม่มีทางทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับผลกระทบ  ไงๆรถรุ่นใหม่ก็ยังตีตลาดวันยังค่ำ...แต่ถ้าเป็นสินค้าที่เป็นเครื่องใช้สอยต่างๆ เช่น เสี้อ  กระเป๋า รองเท้า ฯถ้านำสินค้ามือสองมาขาย ย่อมส่งผลกระทบต่อยอดขายของเจ้าของลิขสิทธิ์แน่นอน ครับ

2. เจ้าของแบรนด์ เอาข้อกฎหมายอะไรมาห้าม คนขายสินค้ามือสอง ของแท้ ผมอ่าน พรบ. ลิขสิทธิ์ ปี 2537 ไม่พบว่าตรงไหนให้อำนาจเจ้าของลิขสิทธิ์ทำแบบนี้ มีข้อกฎหมายอื่นควบคุมเรื่องนี้ไหมครับ

ตอบ..ลองไปอ่านอีกที ครับ 
3. การพิสูจน์ความแท้   ทำไม เจ้าของแบรนด์ ต้องให้พ่อค้ามือสองพิสูจน์ความแท้ได้ก่อน จึงมีสิทธิขาย  ทำไมภาระ ไม่อยู่ที่เจ้าของแบรนด์ ต้องพิสูจน์ว่าเทียมก่อน แล้วจึงเอาผิด เช่นห้าม หรือ ฟ้อง  มิใช่หรือ   เหมือน ผมเดินไปตามถนน ร้องบอกว่าคนที่เดินสวนมาเอาเงินผมไปห้าพัน  เป็นหน้าที่ผมต้องพิสูจน์สิทธิ์ ว่าเป็นเงินผมก่อนผมจะร้อง  ไม่ใช่ผมร้องลอยๆแล้วให้เป็นหน้าทีเขาต้องพิสูจน์สิทธิว่าเป็นเงินของเขา

ตอบ...มีหลักกฎหมาย ตาม ป.วิแพ่ง ม. 84/1    ที่สรุปว่า  ผู้ใดกล่าวอ้าง ผู้นั้นต้องพิสูจน์"  เมื่อนำสินค้ามาขายโดยอ้างว่าเป็นของแท้  ภาระการพิสูจน์จึงตกเป็นของคนกล่าวอ้าง ต้องพิสูจน์....หลักการเดียวกัน  เมื่อคุณอ้างว่าถูกขโมยเงิน  คุณจึงมีหน้าที่พิสูจน์ให้ศาลเห็นจริง ว่าถูกขโมย  เพราะคุณเป็นผู้กล่าวอ้าง ครับ