TRACHU.COM : ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย

ชุมชนกฎหมาย => ถามตอบปัญหากฎหมายสำหรับประชาชน => ข้อความที่เริ่มโดย: วิชัย ที่ 09 เมษายน 2016, 02:19:11 pm



หัวข้อ: ขอรบกวนถามเพิ่มเติมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: วิชัย ที่ 09 เมษายน 2016, 02:19:11 pm
จากที่ได้สอบถามในหัวข้อ  http://www.trachu.com/board/index.php?topic=3892.0 ซึ่งคุณมโนธรรมได้กรุณาตอบให้แล้วแต่ยังมีข้อสงสัยที่อยากเรียนถามเพิ่มเติมคือ

1. ถ้าญาติของผมได้รับสิทธิปลดจากล้มละลายโดยอัตโนมัติแล้ว  แต่ถ้ายังไม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็ถือว่ายังไม่พ้นจากล้มละลายใช่ไหมครับ  เห็นมาตรา 81/1 เขียนว่าให้ปลดจากล้มละลายทันทีเมื่อครบกำหนดสามปี (หรือถ้าเข้ามาตรา 81/1 (1) (2) (3)  อย่างไรเสียก็ไม่เกิน 10 ปี)  ผมจึงเข้าใจว่าเมื่อครบสามปี (หรือสิบปีแล้วแต่กรณี) ก็จะได้รับการปลดจากล้มละลายทันทีโดยอัตโนมัติโดยไม่เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าประกาศในราชกิจจานุเบกษาหรือยัง

2. เคยได้ยินมาว่าคนล้มละลายตามกฏหมายเก่า  ถ้ายังไม่มีการแบ่งทรัพย์  ถึงเวลาจะผ่านไปนานเท่าใดก็ยังไม่พ้นจากล้มละลายใช่หรือไม่ครับ

3. จากที่ถามไว้ว่า  "ถ้าได้ปลดจากล้มละลายแล้วต่อมาหลังจากที่ปลดจากล้มละลายแล้วญาติของผมเกิดมีทรัพย์สินที่ได้มาใหม่  เจ้าหนี้ของบริษัท ก ที่เล่ามานั้นยังสามารถมายึดเอาทรัพย์สินนั้นไปได้หรือไม่  สิทธิของเจ้าหนี้คือกี่ปีครับ"
ซึ่งคุณมโนธรรมได้ตอบว่า  "ตอบ...เมื่อได้รับการปลดจากการล้มละลาย  จะหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งปวง  ตาม ม.77  ยกเว้น (1) (2)คือ   (1)หนี้เกี่ยวกับภาษีอากร หรือจังกอบของรัฐบาลหรือเทศบาล
(2)หนี้ซึ่งได้เกิดขึ้นโดยความทุจริตฉ้อโกงของบุคคลล้มละลาย หรือหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องเนื่องจากความทุจริตฉ้อโกงซึ่งบุคคลล้มละลายมีส่วนเกี่ยวข้องสมรู้
  ถ้าไม่เข้าข้อยกเว้น เจ้าหนี้ก็เรียกร้องอีกไม่ ครับ"

ขอเรียนถามว่าหนี้ตามมาตรา 77 (2) คืออะไรครับ  พอจะยกตัวอย่างได้ไหม  และหนี้ตามมาตรานี้มีกำหนดอายุความไหมครับว่ากี่ปี  เริ่มนับจากไหนครับ

ขอขอบพระคุณอย่างสูงครับสำหรับคำตอบ


หัวข้อ: Re: ขอรบกวนถามเพิ่มเติมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: มโนธรรม ที่ 10 เมษายน 2016, 07:36:28 am
ล้มละลาย

1. ถ้าญาติของผมได้รับสิทธิปลดจากล้มละลายโดยอัตโนมัติแล้ว  แต่ถ้ายังไม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็ถือว่ายังไม่พ้นจากล้มละลายใช่ไหมครับ  เห็นมาตรา 81/1 เขียนว่าให้ปลดจากล้มละลายทันทีเมื่อครบกำหนดสามปี (หรือถ้าเข้ามาตรา 81/1 (1) (2) (3)  อย่างไรเสียก็ไม่เกิน 10 ปี)  ผมจึงเข้าใจว่าเมื่อครบสามปี (หรือสิบปีแล้วแต่กรณี) ก็จะได้รับการปลดจากล้มละลายทันทีโดยอัตโนมัติโดยไม่เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าประกาศในราชกิจจานุเบกษาหรือยัง
ตอบ...ต้องมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ตาม ม.76  เพราะเป็นเงื่อนไขสำคัญ  ครับ

2. เคยได้ยินมาว่าคนล้มละลายตามกฏหมายเก่า  ถ้ายังไม่มีการแบ่งทรัพย์  ถึงเวลาจะผ่านไปนานเท่าใดก็ยังไม่พ้นจากล้มละลายใช่หรือไม่ครับ

ตอบ..ม.77  ระบุไว้ชัดเจนว่าจะหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งปวง ยกเว้น (1) (2)  ดังกล่าวมาแล้ว

3. จากที่ถามไว้ว่า  "ถ้าได้ปลดจากล้มละลายแล้วต่อมาหลังจากที่ปลดจากล้มละลายแล้วญาติของผมเกิดมีทรัพย์สินที่ได้มาใหม่  เจ้าหนี้ของบริษัท ก ที่เล่ามานั้นยังสามารถมายึดเอาทรัพย์สินนั้นไปได้หรือไม่  สิทธิของเจ้าหนี้คือกี่ปีครับ"
ซึ่งคุณมโนธรรมได้ตอบว่า  "ตอบ...เมื่อได้รับการปลดจากการล้มละลาย  จะหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งปวง  ตาม ม.77  ยกเว้น (1) (2)คือ   (1)หนี้เกี่ยวกับภาษีอากร หรือจังกอบของรัฐบาลหรือเทศบาล
(2)หนี้ซึ่งได้เกิดขึ้นโดยความทุจริตฉ้อโกงของบุคคลล้มละลาย หรือหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องเนื่องจากความทุจริตฉ้อโกงซึ่งบุคคลล้มละลายมีส่วนเกี่ยวข้องสมรู้
 ถ้าไม่เข้าข้อยกเว้น เจ้าหนี้ก็เรียกร้องอีกไม่ ครับ"

ขอเรียนถามว่าหนี้ตามมาตรา 77 (2) คืออะไรครับ  พอจะยกตัวอย่างได้ไหม  และหนี้ตามมาตรานี้มีกำหนดอายุความไหมครับว่ากี่ปี  เริ่มนับจากไหนครับ

ตอบ...ตาม ม.77(2)  ก็ตีความตามตัวอักษร คือ ถ้าไม่ใช่หนี้ที่เกิดจากการทุจริตฉ้อโกง ก็เรียกร้องไม่ได้  อายุความของการฉ้อโกงคือ  10 ปี นับแต่วันได้กระทำความผิด ถ้ามีการฟ้องร้องให้ต้องรับผิดเพราะการทุจริต ฉ้อโกง  จะมีอายุความ  10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา  ครับ