trachu.com ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19 พฤษภาคม 2024, 03:55:49 pm
หน้าแรก หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ กระดานข่าวตราชูดอทคอม ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย


+  TRACHU.COM : ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย
|-+  TRACHU CLASSIFIED
| |-+  ห้องซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า
| | |-+  ผ่าฟันคุด เป็นอย่างไร? คู่มือการผ่าฟันคุดที่ครบถ้วนที่สุด
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ผ่าฟันคุด เป็นอย่างไร? คู่มือการผ่าฟันคุดที่ครบถ้วนที่สุด  (อ่าน 309 ครั้ง)
guupost
รุ่นเล็ก
**

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 94


« เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2019, 11:30:05 am »



ผ่าฟันคุด เป็นอย่างไร? คู่มือการผ่าฟันคุดที่ครบถ้วนที่สุด
การถอน หรือผ่าฟันคุด ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด แถมยังป้องกันอาการปวดและลดอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ของฟันข้างเคียงได้
คนโดยมากจะมีฟันกรามทั้งหมด 4 ซี่ แต่ละซี่จะอยู่เป็นฟันซี่สุดท้ายของแต่ละข้าง เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวไม่มีช่องว่างเพียงพอ จึงทำให้บางครั้งฟันกรามซี่ในสุดสามารถโผล่พ้นออกมาได้แค่บางส่วน หรือไม่สามารถโผล่พ้นออกมาได้เลย กรณีแบบนี้จะเรียกกันว่า "ฟันคุด" หนึ่งในสาเหตุการปวดฟันและเหงือกอย่างรุนแรง บางรายถึงขั้นนอนไม่ได้ก็มี ควรไปพบหมอฟันเมื่อไร?
โดยปกติแล้วทันตแพทย์จะแนะนำให้พบหมอฟันอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 6 เดือน แต่ถ้าหากมีอาการเจ็บปวดเหงือกและหรือฟันอย่างรุนแรง ท่านควรไปพบหมอฟันโดยเร็ว ทันตแพทย์จะตรวจฟันและให้คำแนะนำว่า ควรจัดการกับฟันเจ้าปัญหานี้อย่างไร

เมื่อพิจารณาแล้วว่า คุณมีปัญหาฟันคุดและควรถอนออกจึงจะมีการถ่ายภาพเอกซเรย์ช่องปากเพื่อให้หมอฟันเห็นภาพตำแหน่งของฟันดังกล่าวได้ชัดเจนขึ้น

เหตุใดจึงควรถอน หรือผ่าฟันคุดออก?
กรณีฟันกรามซี่สุดท้ายเกิดอาการคุด หรือไม่โผล่พ้นจากเหงือกโดยสมบูรณ์ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในช่องปากตามมาได้ ด้วยเหตุว่าเกิดการหมักหมมของเศษอาหารและเชื้อโรคที่อยู่บนตัวฟันส่วนที่โผล่ออกมาจนเกิดคราบจุลินทรีย์ขึ้นส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ดังนี้
1. ฟันผุ มีสาเหตุมาจากจุลินทรีย์ย่อยอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นกรด ทำลายชั้นเคลือบฟัน และเข้าไปทำลายชั้นเนื้อฟันด้วย หากปล่อยไว้จนรอยผุลึกเข้าไปถึงโพรงประสาทจะมีอาการปวดฟันรุนแรงได้ ยิ่งไปกว่านั้นฟันผุยังสามารถแพร่กระจายไปยังฟันซี่ที่อยู่ใกล้เคียงได้ด้วย
2. โรคเหงือก(หรือโรคปริทันต์อักเสบ) โรคนี้เกิดขึ้นเมื่อคราบจุลินทรีย์ปล่อยสารพิษที่ก่อความระคายเคืองต่อเหงือกออกมาจนทำให้เหงือกแดง บวม และสร้างความเจ็บปวด โรคเหงือกยังส่งผลต่อฟันและกระดูกรอบฟันกรามซี่สุดท้ายได้เช่นกัน
3. เหงือกคลุมฟันอักเสบ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อคราบจุลินทรีย์ทำให้เนื้อเยื่ออ่อนรอบฟันเกิดการติดเชื้อ
4. เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ ภาวะติดเชื้อที่กระพุ้งแก้ม ลิ้น หรือลำคอ
5. ฝีที่ฟัน การสะสมของหนองภายในฟันกราม หรือเนื้อเยื่อโดยรอบ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
6. ซีสท์และเนื้องอก ภาวะนี้พบได้ยาก จะพบในกรณีที่ปล่อยให้เหงือกอักเสบและบวมออกจนกลายเป็นก้อนซีสต์ (การบวมเกิดจากการสะสมของของเหลว) ปัญหาเหล่านี้สามารถรักษาได้หายได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ และน้ำยาบ้วนปากที่มียาฆ่าเชื้อโรค หากปัญหาเหล่านี้ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง คุณหมอจะแนะนำให้ท่านถอนฟันกรามซี่นั้นออก

วิธีการถอนฟันคุด
หมอฟันเป็นผู้ดำเนินการถอนฟัน หรือหากจำเป็นจริงๆ ในบางกรณีทันตแพทย์อาจส่งให้หมอฟันเฉพาะทางด้านศัลยกรรมเป็นผู้รักษาให้

ติดตามอ่านบทความเรื่องการ ผ่าฟันคุด ต่อได้ที่ Website : https://www.honestdocs.co/tooth-extraction
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น


Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.017 วินาที กับ 17 คำสั่ง