trachu.com ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
16 พฤษภาคม 2024, 02:37:18 am
หน้าแรก หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ กระดานข่าวตราชูดอทคอม ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย


+  TRACHU.COM : ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย
|-+  ชุมชนกฎหมาย
| |-+  ถามตอบปัญหากฎหมายสำหรับประชาชน (ผู้ดูแล: มโนธรรม)
| | |-+  สัญญากู้ยืมเงิน
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: สัญญากู้ยืมเงิน  (อ่าน 2073 ครั้ง)
believe2557
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4


« เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2014, 08:55:28 am »

ให้รุ่นน้อง ยืมเงิน 80000 บาท โดยทำสัญญากู้ยืมเงิน บอกว่าที่บ้านเดือนร้อนขอร้องให้ช่วยเหลือโดยเสนอจะจ่ายดอกเบี้ยให้ตามในสัญญา ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
มีผู้ค้ำเป็นข้าราชการ หลักฐานที่ได้มาตอนเซ็นสัญญาเป็นสำเนาเซ็นลงชื่อกำกับมี
บัตรประชาชน+ทะเบียนบ้านผู้กู้ และ บัตรข้าราชการ + บัตรประชาชน ผู้ค้ำ
โดยระบุว่า ยินยอมจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อเดือน ทุกวันที่ 4 และคืนเงินต้นครึ่งนึงเมื่อถึงวันที่กำหนด

ผ่านมา 3 เดือน (ตั้งแต่เดือนแรก)ผู้กู้ไม่ส่งดอกเบี้ยตามสัญญา เมื่อโทรสอบถามก็ขอผลัดส่งไปเรื่อย ดูเหมือนเจตนาจะไม่ส่งดอกให้ตามสัญญา

พอโทรหาคนค้ำเพืิ่อจะแจ้งให้ทราบว่าผู้กู้เริ่มจะทำผิดสัญญา หลังจากนั้นผู้ค้ำก็ไม่เคยรับสายอีกเลย

มีคำถามสงสัยอยากจะขอคำแนะนำดังนี้ค่ะ
1.ควรจะทำอย่างไรดีเมื่อผู้กู้มีท่าทีจะไม่ทำตามสัญญาระบุ
2.ต้องใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ (หมายถึงผู้กู้ผิดสัญญานานแค่ไหน) ถึงจะเริ่มดำเนินการฟ้องร้องผู้กู้ได้
3.ขั้นตอนหากจะฟ้องร้อง ขอแบบระเอียด เพราะส่วนตัวไม่มีความรู้ทางกฏหมายค่ะ
4.ค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องค่ะ

บันทึกการเข้า
มโนธรรม
รองผู้ดูแลระบบ
รุ่นเก๋า
*

ค่าพลัง: +13/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 811


« ตอบ #1 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2014, 09:28:10 am »

1.ควรจะทำอย่างไรดีเมื่อผู้กู้มีท่าทีจะไม่ทำตามสัญญาระบุ

ตอบ...ส่งคำเตือนให้ใช้หนี้  ทั้งผู้กู้และผู้ค้ำประกัน  ที่เรียกว่ายื่นโนติส  ให้ใช้หนี้ภายในเวลาอันสมควร (15-30วัน)  ถ้าไม่ใช้หนี้ ก็ฟ้องตามสัญญากู้ยืมเงินได้  แต่...คุณทำผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง  ทื่ไประบุในสัญญากู้เงินว่า คิดดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อเดือน  ซึ่งเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด  คือ ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี    คุณจึงมีความผิดทางอาญา  มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ตาม  พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา  พ.ศ.2475 มาตรา 3 ถ้าลูกหนี้แจ้งอัยการให้ดำเนินคดีกับคุณ  คุณคงลำบากพอสมควร    แม้ไม่มีการดำเนินคดี  ถ้ามีการฟ้องศาล  ถือว่าการเรียกดอกเบี้ยเป็นโมฆะ  คุณจึงเรียกดอกเบี้ยไม่ได้  คงเรียกได้คืนเฉพาะ เงินต้น   แต่เรียกดอกเบี้ยได้ ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดการชำระหนี้ได้ ครับ
2.ต้องใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ (หมายถึงผู้กู้ผิดสัญญานานแค่ไหน) ถึงจะเริ่มดำเนินการฟ้องร้องผู้กู้ได้
ตอบ....ตามข้อ 1

3.ขั้นตอนหากจะฟ้องร้อง ขอแบบระเอียด เพราะส่วนตัวไม่มีความรู้ทางกฏหมายค่ะ

ตอบ...ก็ให้ทนายยื่นฟ้องทั้งผู้กู้และผู้ค้ำฯ ได้  แต่คงถูกโต้แย้งเรื่องเรียกดอกเบี้ยเกินฯ หรืออาจถูกดำเนินคดีได้(คือผู้กู้  ดำเนินคดีกับคุณไม่ได้  เพราะไม่ใช่ผู้เสียหาย ที่ยินยอมจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อเดือนเอง   แต่อัยการที่เป็นทนายความของแผ่นดิน  สามารถฟ้องคุณได้)....ลองหาวิธีให้ลูกหนี้มาทำสัญญากู้เงินใหม่  หรือหนังสือยอมรับสภาพหนี้  โดยระบุดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี  ถ้าสามารถทำได้ คุณจะปลอดภัย ครับ
4.ค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องค่ะ

ตอบ...ต้องเจรจากับทนายความเอาเอง   ก็ประมาณ  5,000- 30,000  บาท ครับ

บันทึกการเข้า
believe2557
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4


« ตอบ #2 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2014, 09:37:31 am »

ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ นั้นลองพยายามติดตามกับผู้กู้ดูก่อน นะค่ะ
ส่วนเรื่องดอกเบี้ย เค้ายินยอมจะให้จำนวนเท่านี้ ตกลงกันก่อนทำสัญญาแล้ว
เป็นเรื่องของความสมัครใจ แบบนี้เราผิดด้วยหรอค่ะ

บันทึกการเข้า
มโนธรรม
รองผู้ดูแลระบบ
รุ่นเก๋า
*

ค่าพลัง: +13/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 811


« ตอบ #3 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2014, 12:00:01 pm »

เรื่องดอกเบี้ย  ในเมื่อผู้กู้ยินยอมให้เรียกดอกเบี้ยเกินฯได้     ตามกฎหมายถือว่าเขาไม่ใช่ผู้เสียหาย    เขาจึงแจ้งความดำเนินคดีกับคุณไม่ได้  แต่อัยการ  ที่เป็นทนายความแผ่นดิน  สามารถดำเนินคดีกับคุณได้ ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น


Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง