TRACHU.COM : ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย

ชุมชนกฎหมาย => ถามตอบปัญหากฎหมายสำหรับประชาชน => ข้อความที่เริ่มโดย: Patchara ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2017, 09:46:33 am



หัวข้อ: รายงานธุรกรรมทางการเงิน
เริ่มหัวข้อโดย: Patchara ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2017, 09:46:33 am
สหกรณ์ฯ จ่ายเช็คของธนาคารให้ สมาชิกกรณีที่มีการถอนเงินฝากของสมาชิกออกจากสหกรณ์ฯ เกิน 2 ล้านบาท  ต้องรายงานธุรกรรมหรือไม่  หรือได้รับยกเว้นอย่างไรค่ะ


หัวข้อ: Re: รายงานธุรกรรมทางการเงิน
เริ่มหัวข้อโดย: Patchara ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2017, 09:48:49 am
สหกรณ์จ่ายเช็คสำหรับการถอนเงินฝากของสมาชิกที่มากกว่า 2 ล้านบาท  ต้องรายงานธุรกรรมหรือไม่  หรือได้รับยกเว้นอย่างไรค่ะ


หัวข้อ: Re: รายงานธุรกรรมทางการเงิน
เริ่มหัวข้อโดย: มโนธรรม ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2017, 01:38:23 pm
การรายงานการทำธุรกรรมทางการเงิน

  ต้อง เป็นไป ตาม ม.13 และมีอาชีีพ ตาม มาตรา 16 แห่ง พรบ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 (ปปง.)  และจำนวนเงินต้องเป้นไปตามกฎกระทรวง

มาตรา ๑๓  เมื่อมีการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงิน ให้สถาบันการเงินมีหน้าที่ต้องรายงานการทำธุรกรรมนั้นต่อสำนักงาน เมื่อปรากฏว่าธุรกรรมดังกล่าวเป็น
(๑) ธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๒) ธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีมูลค่าเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือ
(๓) ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย  ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกรรมตาม (๑) หรือ (๒)หรือไม่ก็ตาม
ในกรณีที่ปรากฏว่ามีข้อเท็จจริงใดที่เกี่ยวข้องหรืออาจจะเป็นประโยชน์ในการยืนยันหรือยกเลิกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธุรกรรมที่สถาบันการเงินได้รายงานไปแล้ว ให้สถาบันการเงินรายงานข้อเท็จจริงนั้นให้สำนักงานทราบโดยไม่ชักช้า

มาตรา ๑๖  ให้ผู้ประกอบอาชีพดังต่อไปนี้มีหน้าที่ต้องรายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย  ทั้งนี้ ผู้ประกอบอาชีพตาม (๒) (๓) (๔) และ (๕) ต้องเป็นนิติบุคคล เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยที่มีพยานหลักฐานอันสมควรว่ามีการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินกับผู้ประกอบอาชีพตาม (๒) (๓) (๔) และ (๕) ที่มิได้เป็นนิติบุคคล ให้สำนักงานมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวรายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงาน
(๑) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการดำเนินการ การให้คำแนะนำ หรือการเป็นที่ปรึกษาในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับการลงทุนหรือการเคลื่อนย้ายเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินตามมาตรา ๑๓
(๒) ผู้ประกอบอาชีพค้าอัญมณี เพชรพลอย ทองคำ หรือเครื่องประดับที่ประดับด้วยอัญมณี เพชรพลอย หรือทองคำ
(๓) ผู้ประกอบอาชีพค้าหรือให้เช่าซื้อรถยนต์
(๔) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
(๕) ผู้ประกอบอาชีพค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า
(๖) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับหรือตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(๗) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(๘) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต หรือตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(๙) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์[๓๑]
(๑๐) ผู้ประกอบอาชีพที่ดำเนินธุรกิจทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินที่มิใช่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งปรากฏผลจากการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการฟอกเงินหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายว่ามีความเสี่ยงที่อาจถูกใช้เป็นช่องทางในการฟอกเงินหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย  ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
    ในกรณีที่ปรากฏว่ามีข้อเท็จจริงใดที่เกี่ยวข้องหรืออาจจะเป็นประโยชน์ในการยืนยันหรือยกเลิกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธุรกรรมที่ได้รายงานไปตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บุคคลดังกล่าวรายงานข้อเท็จจริงนั้นให้สำนักงานทราบโดยไม่ชักช้า
    ให้นำความในมาตรา ๑๔ มาใช้บังคับกับผู้มีหน้าที่รายงานตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม เว้นแต่กรณีผู้มีหน้าที่รายงานดังกล่าว เป็นผู้กระทำความผิดฐานฟอกเงินเสียเอง

....                                    กฎกระทรวง     ................
กำหนดจำนวนเงินในการทำธุรกรรมที่ใช้เงินสดซึ่งผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖
ต้องรายงานต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ. ๒๕๕๔
                 
 
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ และมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
 
ข้อ ๑  กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
ข้อ ๒  ให้ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖ รายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสด ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๘) ให้รายงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไป
(๒) ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง (๖) ให้รายงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนตั้งแต่ห้าแสนบาทขึ้นไป
(๓) ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง (๗) และ (๙) ให้รายงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป
(๔) ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง (๑๐) ให้รายงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป
 .....ความเห็น....กรณีที่ถาม คงต้องรายงาน ตาม ม.13  ครับ


หัวข้อ: Re: รายงานธุรกรรมทางการเงิน
เริ่มหัวข้อโดย: มโนธรรม ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2017, 01:42:25 pm
(ต่อ)

                                    กฎกระทรวง
กำหนดจำนวนเงินในการทำธุรกรรมที่ใช้เงินสดซึ่งผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖
ต้องรายงานต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ. ๒๕๕๔
                 
 
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ และมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
 
ข้อ ๑[๑]  กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
ข้อ ๒  ให้ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖ รายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสด ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๘) ให้รายงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไป
(๒) ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง (๖) ให้รายงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนตั้งแต่ห้าแสนบาทขึ้นไป
(๓) ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง (๗) และ (๙) ให้รายงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป
(๔)[๒] ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง (๑๐) ให้รายงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป
 .....ความเห็น...ตามที่ถาม   คงต้องรายงาน ตาม ม.13 ครับ


หัวข้อ: Re: รายงานธุรกรรมทางการเงิน
เริ่มหัวข้อโดย: มโนธรรม ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2017, 01:43:24 pm
(ต่อ)

ข้อ ๑[๑]  กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
ข้อ ๒  ให้ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖ รายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสด ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๘) ให้รายงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไป
(๒) ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง (๖) ให้รายงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนตั้งแต่ห้าแสนบาทขึ้นไป
(๓) ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง (๗) และ (๙) ให้รายงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป
(๔)[๒] ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง (๑๐) ให้รายงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป


หัวข้อ: Re: รายงานธุรกรรมทางการเงิน
เริ่มหัวข้อโดย: มโนธรรม ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2017, 01:43:49 pm
ข้อ ๑[๑]  กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
ข้อ ๒  ให้ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖ รายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสด ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๘) ให้รายงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไป
(๒) ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง (๖) ให้รายงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนตั้งแต่ห้าแสนบาทขึ้นไป
(๓) ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง (๗) และ (๙) ให้รายงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป
(๔)[๒] ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง (๑๐) ให้รายงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป


หัวข้อ: Re: รายงานธุรกรรมทางการเงิน
เริ่มหัวข้อโดย: มโนธรรม ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2017, 01:44:42 pm
ไม่สามารถส่งข้มูลได้....ระบบไม่รับ....สรุปควรรายงาน ครับ


หัวข้อ: Re: รายงานธุรกรรมทางการเงิน
เริ่มหัวข้อโดย: Patchara ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2017, 04:55:00 pm
กฎกระทรวง
ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๔๓)
ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม
การฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒  ข้อ ๑ ธุรกรรมที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรายงานต่อสำนักงานตามมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ มีดังนี้  (๗)๒ ธุรกรรมที่เกี่ยวกับการบริการ ดังต่อไปนี้  (ช) การบริการหักบัญชีเช็ค  >>> เช็คในที่นี้หมายถึง ผู้ออกเช็คไม่ต้องรายงานใช่หรือไม่ค่ะ


หัวข้อ: Re: รายงานธุรกรรมทางการเงิน
เริ่มหัวข้อโดย: มโนธรรม ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2017, 02:28:22 am
กฎกระทรวง
  ได้เปิดดูกฎกระทรวง ท้าย พรบ.ปปง. แล้ว มีเพียง2 ข้อ   ครับ

กฎกระทรวง
ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๔๓)
ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม
การฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒
                 
 
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
 
ข้อ ๑  ธุรกรรมที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรายงานต่อสำนักงานตามมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ มีดังนี้
(๑) ธุรกรรมที่พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี พระรัชทายาท หรือพระบรมวงศ์ ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไปจนถึงชั้นเจ้าฟ้า เป็นคู่กรณี
(๒) ธุรกรรมที่รัฐบาล ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐเป็นคู่กรณี
(๓) ธุรกรรมที่มูลนิธิดังต่อไปนี้เป็นคู่กรณี
(ก) มูลนิธิชัยพัฒนา
(ข) มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
(ค) มูลนิธิสายใจไทย
(๔) ธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ที่ทำกับสถาบันการเงิน เว้นแต่
(ก) ธุรกรรมที่เป็นการโอนเงินในประเทศโดยใช้บริการบาทเนตตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริการบาทเนต หรือที่เป็นการโอนเงินข้ามประเทศระหว่างธนาคารโดยใช้บริการของ Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication, limited liability Co – operative Society (S.W.I.F.T.s.c.)
(ข) ธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่เป็นเรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไปเรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป รวมทั้งแพด้วย
(ค) ธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่เป็นยานพาหนะ เครื่องมือ หรือเครื่องจักรกลอื่นใด
(๕) การทำสัญญาประกันวินาศภัย เว้นแต่การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันวินาศภัยที่คาดว่าจะต้องจ่ายตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป
(๖) การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประเภทโอนเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือการได้มาโดยการครอบครองหรือโดยอายุความตามมาตรา ๑๓๘๒ หรือมาตรา ๑๔๐๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
 
ข้อ ๒[๑]  กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
 
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓
ชวน  หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี