trachu.com ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
18 พฤษภาคม 2024, 07:52:42 am
หน้าแรก หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ กระดานข่าวตราชูดอทคอม ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย


+  TRACHU.COM : ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย
|-+  ชุมชนกฎหมาย
| |-+  ถามตอบปัญหากฎหมายสำหรับประชาชน (ผู้ดูแล: มโนธรรม)
| | |-+  ปรึกษาเรื่องการร่างสัญญาครับกับคำว่า เหตุสุดวิสัย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ปรึกษาเรื่องการร่างสัญญาครับกับคำว่า เหตุสุดวิสัย  (อ่าน 3603 ครั้ง)
dell_dell
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


« เมื่อ: 20 มกราคม 2014, 11:18:45 am »

ปรึกษาเรื่องการร่างสัญญาครับ จากนักศึกษาปี 4

โดยปกติในทางปฎิบัติ การทำธุรกิจทั่วๆไป การทำสัญญาจ้างทำของ, สัญญาเช่า, สัญญาซื้อ-ขาย เวลาร่างสัญญาควรนิยามคำว่า เหตุสุดวิสัย หรือ ยกตัวอย่างเหตุสุดวิสัย เช่น ภัยธรรมชาติ สงคราม ... ในสัญญาหรือไม่

พี่ๆลองยกตัวอย่าง wording ให้ได้ไหม ว่ามันควรออกมาแนวๆไหน

หรือควรแค่ระบุ เป็นคำว่า "เหตุสุดวิสัย" เฉยๆ เพื่อเปิดโอกาสให้คู่สัญญาไปตีความเองเวลาเกิดประเด็นพิหลอกลวง
บันทึกการเข้า
มโนธรรม
รองผู้ดูแลระบบ
รุ่นเก๋า
*

ค่าพลัง: +13/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 811


« ตอบ #1 เมื่อ: 20 มกราคม 2014, 12:00:24 pm »

เหตุสุดวิสัย  มีการกำหนดไว้แล้วชัดเจน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8  แต่ถ้าคู่สัญญาจะกำหนดไว้ชัดเจนว่า  เหตุสุดวิสัยคืออะไรบ้าง   เมื่อเกิดขึ้นแล้ว  คู่สัญญาไม่ต้องรับผิด   ก็สามารถทำได้....     เหตุสุดวิสัย  ค่อนข้างเป็นปัญหาข้อกฎหมาย   บางทีคนทั่วๆไปมองว่า เป็นเหตุสุดวิสัย   แต่ศาลท่านกลับมีความเห็นต่าง....เข้าไปศึกษารายละเอียดเรื่อง เหตุสุดวิสัยได้  ในเว็บของศาล ฎีกา(http://www.deka2007.supremecourt.or.th/) จะมีตัวอย่างฎีกามากมาย  ให้ศึกษาเปรียบเทียบดู ครับ

มาตรา ๘
          คำว่า " เหตุสุดวิสัย " หมายความว่า เหตุใดๆ อันจะเกิดขึ้น ก็ดี จะให้ผลพิบัติ ก็ดี เป็นเหตุที่ ไม่อาจป้องกันได้ แม้ทั้ง บุคคล ผู้ต้องประสบ หรือ ใกล้จะต้องประสบ เหตุนั้น จะได้จัดการ ระมัดระวัง ตามสมควร อันพึงคาดหมายได้ จาก บุคคล ในฐานะ และ ภาวะเช่นนั้น


....แนวคำพิพากษาศาลฎีกา  เรืองเหตุสุดวิสัย...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842 - 844/2553 
  เหตุที่จะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 จะต้องเป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่ใช่ความผิดของบุคคลผู้นั้น และต้องเป็นเหตุที่ไม่สามารถป้องกันได้แม้บุคคลผู้ประสบเหตุนั้นจะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว การที่จำเลยจัดสรรที่ดินและได้ประกาศขายที่ดินแปลงย่อยพร้อมบ้านพักอาศัยแก่ประชาชนทั่วไปรวมทั้งผู้บริโภคทั้งสิบห้าโดยที่มิได้ตระเตรียมเงินลงทุนไว้ให้พร้อมเสียก่อนเมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับเงินลงทุน ซึ่งสถาบันการเงินระงับการให้กู้ในระหว่างนั้นเป็นเหตุให้การดำเนินการปลูกสร้างบ้านพักอาศัยหยุดชะงักลง จึงเป็นความผิดของจำเลยที่ไม่เตรียมการป้องกันไว้ก่อนทั้งๆ ที่สามารถกระทำได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิด

บันทึกการเข้า
dell_dell
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


« ตอบ #2 เมื่อ: 20 มกราคม 2014, 10:14:57 pm »

ขอบคุณครับผม สำหรับความเห็นครับผม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น


Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 20 คำสั่ง