trachu.com ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
18 พฤษภาคม 2024, 06:58:52 am
หน้าแรก หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ กระดานข่าวตราชูดอทคอม ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย


+  TRACHU.COM : ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย
|-+  ชุมชนกฎหมาย
| |-+  ถามตอบปัญหากฎหมายสำหรับประชาชน (ผู้ดูแล: มโนธรรม)
| | |-+  สอบถามเรื่องสัญญาหนี้สิน
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: สอบถามเรื่องสัญญาหนี้สิน  (อ่าน 1532 ครั้ง)
passpat
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


« เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2014, 01:20:07 pm »

รบกวนสอบถามการร่างสัญญาหนี้เงินกู้ค่ะ คุณอาของเพื่อนมาขอยืมเงินจำนวนหกแสนบาท จำเป็นต้องเขียนสัญญาด้วยใช่ไหมคะ 

สัญญากู้เงินเขียนแบบนี้ใช้ได้ไหมคะ? ควรเพิ่มเติมอะไรอีกไหม?  ขอคำแนะนำด้วยนะคะ

 

                                สัญญานี้ทำที่ ...

เมื่อวันที่.......................................................

ระหว่าง...................................................................อายุ..................ปี อยู่ที่................................................................


ซึ่งต่อไปในสัญญาจะเรียกว่า “ผู้ให้กู้” ฝ่ายหนึ่ง กับ............................................อายุ.............ปี

อยู่ที่...

...

ซึ่งต่อไปในสัญญา จะเรียกว่า “ผู้กู้” อีกฝ่ายหนึ่ง คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันดังต่อไปนี้

                                ข้อ 1. ผู้กู้ตกลงกู้และผู้ให้กู้ตกลงให้กู้เงินจำนวน.......   บาท (..............   )
โดยยินยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ..........ต่อเดือน  หรือ .....ต่อปี
และผ่อนชำระเงินต้นแบบลดต้นลดดอกไปเรื่อยๆจนครบ 60 เดือน [หกสิบเดือน] ตามที่ระบุไว้ในสัญญา
โดยผู้กู้ยินยอมชำระดอกเบี้ย+เงินผ่อนชำระเงินต้นให้ผู้ให้กู้ทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง  ในวันที่.......5...........ของทุกเดือน

                                ข้อ 2. ผู้กู้ตกลงผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยคืนผู้ให้กู้ตลอด 60 เดือนเต็ม นับตั้งแต่เดือนแรกของปีพ.ศ. 2558  คือ วันที่ 5 มกราคม 2558 ไปจนสิ้นสุดภาระหนี้สินต่อกันในวันที่ .....5..[ห้า]......เดือน...12..[.ธันวาคม]พ.ศ. 2562 [สองพันห้าร้อยหกสิบสอง]......
โดยผู้ให้กู้ไม่มีสิทธิ์เรียกเก็บเงินต้นที่ให้กู้ยืมคืนก่อนครบกำหนด  หากลูกหนี้ชำระเงินกู้และดอกเบี้ยตรงเวลาทุกเดือนตามที่ระบุในสัญญา 
ยกเว้นผู้ให้กู้สามารถเรียกเก็บเงินกู้ที่ค้างชำระณ เวลานั้นทั้งหมดคืนได้ทันที  ในกรณีที่ผู้กู้ขาดการส่งดอกเบี้ยและเงินต้นเกินกว่า 15 วัน
                               
                                ข้อ 3. เนื่องจากเป็นการกู้ยืมโดยไม่มีหลักประกัน  ดังนั้นหากผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ให้แก่ผู้ให้กู้ตามสัญญาข้อใดข้อหนึ่ง ผู้ให้กู้ถือว่าผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมด ผู้กู้ยินยอมรับผิดชอบชดใช้เงินต้นคืนแก่ผู้ให้กู้ทันที

                                ข้อ 4. หากผู้กู้มีความประสงค์จะปิดยอดหนี้ก่อนครบกำหนด 60 เดือน ผู้กู้ต้องชำระเงินกู้ส่วนที่ยังค้างอยู่ณ ปัจจุบันทั้งหมด พร้อมกับดอกเบี้ยรายเดือนณ ขณะนั้น  ก่อนสิ้นสุดการกู้ยืมต่อกัน
                               
                                คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้อ่านและเข้าใจข้อความ เห็นว่า ถูกต้องตรงตามเจตนาแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน

 

                                                                                ลงชื่อ...........................................ผู้ให้กู้

                                                                                                (                                                               )

 

                                                                                ลงชื่อ............................................ .ผู้กู้

                                                                                                (                                                               )

 

                                                                                ลงชื่อ.............................................พยาน

                                                                                                (                                                               )




บันทึกการเข้า
มโนธรรม
รองผู้ดูแลระบบ
รุ่นเก๋า
*

ค่าพลัง: +13/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 811


« ตอบ #1 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2014, 06:38:26 pm »

การให้กู้ยืมเงินเกินสองพันบาท  ต้องทำหลักการกู้ยืมไว้ จึงจะใช้ฟ้องร้องได้....
1.  สัญญาควรระบุไว้ให้ชัดเจนว่า  คิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 ปีต่อปี  ตามกฎหมายกำหนด  และส่งเงินต้นเดือนละ  10,000  บาท เป็นเวลา 60 เดือนพร้อมดอกเบี้ย  และควรทำบัญชีการชำระหนี้แนบท้ายสัญญาไว้ให้ชัดเจน  เช่น
...งวดที่ 1  เงินต้น  600,000  บาท ดอกเบี้ย 7,500  บาท เงินต้น 10,000  บาท รวมเงินที่ต้องชำระ  17,500  บาทเงินต้นคงเหลือ 590,000  บาท
...งวดที่ 2  เงินต้น  590,000  บาท ดอกเบี้ย 7,375 บาท เงินต้น  10,000  บาท รวมเงินที่ต้องชำระ  17,374 บาท  เงินต้นคงเหลือ 580,000  บาท
....งวดที่3  เงินต้น 580,000 บาท ดอกเบี้ย 7,250 บาท  เงินต้น 10,000  บาท  รวมเงินที่ต้องชำระ  17,250 บาท ก็ระบุไว้ให้ชัดเจน  จนครบ 60งวด เพื่อให้เข้าใจตรงกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้  เงินต้นคงเหลือ 570,000  บาท
2.การไปเขียนไว้ว่า ผู้ให้กู้ไม่มีสิทธิ์เรียกเงินกู้ยืมก่อนกำหนด  ไม่น่าจะเขียนไว้เช่นนั้น  เพราะผู้ให้กู้ย่อมเสียเปรียบ  ควรระบุไว้ว่า  ถ้าผิดนัดการชำระหนี้ 1หรือ 2หรือ 3 งวด(ระบุให้ชัดเจนว่ากี่งวด) ผู้ให้กู้สามารถเรียกร้องเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทันที  โดยไม่ต้องบอกล่าวล่วงหน้า
3. การให้กู้ยืมเงิน  โดยไม่มีหลักประกัน  มีความเสี่ยงสูงมาก  และโอกาสเป็นหนี้สูญก็มีมากเช่นกัน  ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ประกัน  อย่างน้อยๆก็ควรใช้บุคคลมาค้ำประกันการกู้ยืม จะปลอดภัยกว่า   และบุคคลที่มาค้ำประกัน  ต้องมีหลักฐานการงานมั่นคงเพียงพอ ครับ
4.  ข้อนี้ก็ใช้ได้.....และ  ควรแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  สำเนาทะเบียนบ้าน ที่เจ้าตัวรับรองสำเนาเอกสาร ของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน แทบท้ายสัญญาไว้ด้วย  ควรทำสัญญา 2 ฉบับข้อความตรงกัน  เก็บไว้ฝ่ายละฉบับ....ควรปิดอากรฯที่สัญญาต้นฉบับ  300  บาท  ให้ผู้กู้ขีดฆ่า และลงลายชื่อกำกับและวันเดือนปี  เพื่อป้องกันปัญหาว่า  สัญญาใช้ฟ้องได้หรือไม่ (ผู้ให้กู้ถือต้นฉบับไว้)

คำเตือน....การให้กู้ยืมเงิน   มีความเสี่ยงสูงมาก   แม้จะทำสัญญาไว้รัดกุมเพียงใดก็คง เรียกเงินคืนลำบาก   คือกฎหมายเขียนไว้ ดูเป็นเรื่องง่ายๆ   คือ" ถ้าผิดนัดก็ฟ้องตามสัญญา   และบังคับคดี  โดยการยึดทรัพย์ มาขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้"   แต่ในทางปฏิบัติ  กว่าจะผ่านไปทีละขั้นตอน  คงข้ามเดือนข้ามปี และมีค่าใช้จ่ายสูง  บางทีอาจเป็นหนี้สูญ   ธนาคารต่างๆมีระบบการปล่อยสินเชื่อที่รัดกุมมาก  มีทั่งหลักทรัพย์และบุคคลค้ำประกัน   แต่ธนาคารยังต้องมีหนี้สูญในแต่ละปีเป็นร้อยล้านบาท เพราะมีเหตุปัจจัยประกอบมากมาย  ดังนั้นควรเก็บยเงินไว้ในธนาคาร  แม้ดอกเบี้ยต่ำ แต่ปลอดภัย  ไม่ต้องมาเป็นอริกับลูกหนี้ในภายหลัง  ตอนเขาเดือดร้อน สารพัดคำหวานจะพรั่งพรูออกมาจนคุณใหลหลง   แต่เมื่อจะเรียกเงินคืน   ก็มักได้ยินคำว่า  "ไปฟ้องเอาซิ"  ด้วยความปรารถนาดี ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น


Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 20 คำสั่ง