trachu.com ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
03 พฤษภาคม 2024, 02:54:47 am
หน้าแรก หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ กระดานข่าวตราชูดอทคอม ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย


+  TRACHU.COM : ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย
|-+  ชุมชนกฎหมาย
| |-+  ถามตอบปัญหากฎหมายสำหรับประชาชน (ผู้ดูแล: มโนธรรม)
| | |-+  ขอสอบถาม เรื่อง การขอถอนผู้จัดการมรดกครับ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอสอบถาม เรื่อง การขอถอนผู้จัดการมรดกครับ  (อ่าน 2983 ครั้ง)
jack39
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3


« เมื่อ: 15 สิงหาคม 2014, 03:24:48 pm »

เรียน ขอสอบถาม เรื่อง การขอถอนผู้จัดการมรดกครับ  /

เรื่องมีอยู่ว่า แม่แฟนมีพี่น้อง 4 คน (แม่แฟนผมคนที่ 3 ) โดยก่อนที่ตาจะเสีย ได้แบ่งสมบัติ เป็นที่ดินให้แต่ละคนเรียบร้อยแล้ว (มี โฉนด 2 แผ่นที่นำมาแบ่ง ดังนี้
#โฉนด 7 ไร่ 3 งาน แบ่งให้กับลูกคนที่1, 2 , 4  (ลูกคนที่1 ถือ)
#โฉนด 3 ไร่แบ่งให้กับลูกคนที่ 3  (ลูกคนที่ 3 ถือ)

รวมระยะเวลาการถือโฉนดเกิน 10 ปี แต่ยังไม่ได้โอนเป็นชื่อให้ เพราะตาท่านได้เสียชีวิตก่อน 

ต่อมา ลูกคนที่4 ได้ขอแต่งตั้งตัวเองเป็นผู้จัดการมรดก โดยลูกคนที่ 1-3 ได้ยินยอมเซ็นให้ โดยลูกคนที่ 4 อ้างว่าจะไปดำเนินการเรื่องที่ดินให้เรียบร้อย จึงทำให้ทุกคนเซ็นยินยอมให้

หลังจากเซ็นยินยอมและศาลไต่สวนแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเรียบร้อย ลูกคนที่ 4 ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ได้มาดำเนินการแบ่งที่ดินใหม่

โดยบังคับให้ลูกคนที่ 2 มาแบ่งที่ดินกับลูกคนที่ 3   ซึ่งถือโฉนด 3 ไร่

ส่วนตัวลูกคนที่4 ที่เป็นผู้จัดการมรดกได้  มาแบ่งที่ดินกับลูกคนที่ 1 ซึ่งถือโฉนด 7 ไร่  3 งาน

ในกรณี ถ้าทางลูกคนที่ 3 ไม่ยินยอมแบ่งที่ดินให้ เนื่องจากก่อนตาจะเสียชีวิตได้แบ่งไว้แล้ว แต่ลูกคนที่ 4 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกมาแก้ไขและทำให้ตัวเองได้รับผลประโยชน์มากขึ้น แบบนี้เรา

สามารถคัดค้านการเป็นผู้จัดการมรดก ได้หรือเปล่าครับ และหากทำได้มีวิธีและขั้นตอนยังไงบ้างครับ  ฮืม ฮืม ฮืม
บันทึกการเข้า
มโนธรรม
รองผู้ดูแลระบบ
รุ่นเก๋า
*

ค่าพลัง: +13/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 811


« ตอบ #1 เมื่อ: 16 สิงหาคม 2014, 05:41:41 am »

โดยหลัก  มรดกของตา   ต้องแบ่งเป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน  ก็คงประมาณ คนละ 3 ไร่เศษ....การแบ่งกันถือครอง   ก็ถือว่า เป็นการแบ่งมรดกแล้วแบบหนึ่ง   ดังนั้นบุตรคนที่ 3   จึงสามารถโต้แย้งการแบ่งปันของผู้จัดมรดกได้ตาม ปพพ. ม.1750  แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็จำเป็นต้องฟ้องศาล ให้ยุ่งยาก  ใช้วิธีแบ่งเท่าๆกัน น่าจะสะดวกกว่า  ครับ

ปพพ. มาตรา ๑๗๕๐
            การแบ่งปัน ทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดย ทายาท ต่างเข้าครอบครอง ทรัพย์สิน เป็นส่วนสัด หรือ โดยการขาย ทรัพย์มรดก แล้วเอาเงินที่ขายได้ มาแบ่งปันกัน ระหว่าง ทายาท....

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7667/2552
 

          นับแต่วันที่ ส. ตาย ทายาทของ ส. คือโจทก์ จำเลย และ อ. ได้ครอบครองที่ดินทรัพย์มรดกเป็นส่วนสัด อันเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง แล้ว และถือได้ว่าการแบ่งปันมรดกเสร็จสิ้นแล้วนับแต่วันที่ได้มีการครอบครองเป็นส่วนสัด ......

           
บันทึกการเข้า
jack39
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3


« ตอบ #2 เมื่อ: 16 สิงหาคม 2014, 10:48:26 am »

ขอบคุณมากครับพี่    ยิ้ม ยิ้ม

ข้อมูลเพิ่มเติม : ลูกคนที่1, 2 , 4 ก่อนหน้านี้ ได้รับที่ดินจาก ตา ไปกันก็หลายไร่แล้วครับแต่ก็ได้นำไปขาย ลูกคนที่ 1 ก็มีโฉนด 10 ไร่(แต่เป็น สปก.4-01) ที่ตาให้ไว้ ต่อมาก็นำไปเข้า จำนองกับ ธอส.  พอเงินหมดก็เอาโฉนด 7 ไร่ 3 งาน ที่ต้องไว้ใช้แบ่ง ไปเข้ากับ ธอส. อีก ทำให้ลูกคนที่ 2, 4 ไม่สามารถแบ่งโฉนดกันได้ และบังคับให้แม่แฟนซึ่งเป็นลูกคนที่ 3 แบ่งที่ดินให้กับลูกคนที่ 2  โดยที่ ตาได้แบ่งให้ไว้แค่ 3 ไร่ ซึ่งน่าจะน้อยสุดแล้วในบรรดาพี่น้องทั้งหมด แต่สุดท้ายก็ยังมาจะแย่ง  ผมกับแฟนเลยรู้สึกไม่เป็นธรรมต่อแม่ของเขา เลยอยากหาช่องทางอื่นๆ เพื่อไม่ให้เสียทีดินไปอีก เพราะลูกคนที่ 4 อ้างว่าถ้าไม่แบ่งก็ไม่โอนที่ 3 ไร่ให้ 

- เราสามารถฟ้อง ครอบครองปรปักษ์ ได้ไหมครับ เพราะถือครอบโฉนดนานกว่า 10 ปี โดยทุกคนรับรู้ว่าแม่แฟนเป็นเจ้าของและไม่มีใครโต้แย่ง
บันทึกการเข้า
มโนธรรม
รองผู้ดูแลระบบ
รุ่นเก๋า
*

ค่าพลัง: +13/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 811


« ตอบ #3 เมื่อ: 16 สิงหาคม 2014, 01:52:16 pm »

ที่ตอบว่าแบ่งคนละ  3  ไร่เศษนั้น  ที่ถูกคือประมาณคนละ 2 ไร่เศษ....ดังที่ตอบข้างต้น   ถือว่าการแบ่งมรดกได้จบลงแล้ว  ดังนั้น จึงไม่ต้องมีการแบ่งปันมรดกกันอีก  ถ้าผู้จัดการมรดกไม่ยอมโอนให้ ก็ ต้องฟ้องให้โอนให้ โดยอ้างเหตุตาม ปพพ. ม.1750  ดังกล่าว และสามารถอ้างการครอบครอบปรปักษ์ขึ้นต่อสู้ได้เช่นกัน  เพราะบุตรคนที่3  ครอบครองที่ดินในฐานะเจ้าของเกิน 10 ปี...คือฟ้องให้ผู้จัดการมรดกโอนให้ ตาม ปพพ. ม.1750 และได้กรรมสิทธิ์  โดยการครอบครองปรปักษ์  ไปในคราวเดียวกันได้  ซึ่งตามข้อเท็จจริง  บุตรคนที่ 3  อยู่ในฐานะได้เปรียบในข้อกฎหมาย   แต่การฟ้องร้องย่อมเกิดความสูญเสียทั้งสองฝ่าย  ถ้าสามารถเจรจาตกลงกันได้จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด  ครับ
บันทึกการเข้า
jack39
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3


« ตอบ #4 เมื่อ: 17 สิงหาคม 2014, 12:57:28 pm »

ที่ตอบว่าแบ่งคนละ  3  ไร่เศษนั้น  ที่ถูกคือประมาณคนละ 2 ไร่เศษ....ดังที่ตอบข้างต้น   ถือว่าการแบ่งมรดกได้จบลงแล้ว  ดังนั้น จึงไม่ต้องมีการแบ่งปันมรดกกันอีก  ถ้าผู้จัดการมรดกไม่ยอมโอนให้ ก็ ต้องฟ้องให้โอนให้ โดยอ้างเหตุตาม ปพพ. ม.1750  ดังกล่าว และสามารถอ้างการครอบครอบปรปักษ์ขึ้นต่อสู้ได้เช่นกัน  เพราะบุตรคนที่3  ครอบครองที่ดินในฐานะเจ้าของเกิน 10 ปี...คือฟ้องให้ผู้จัดการมรดกโอนให้ ตาม ปพพ. ม.1750 และได้กรรมสิทธิ์  โดยการครอบครองปรปักษ์  ไปในคราวเดียวกันได้  ซึ่งตามข้อเท็จจริง  บุตรคนที่ 3  อยู่ในฐานะได้เปรียบในข้อกฎหมาย   แต่การฟ้องร้องย่อมเกิดความสูญเสียทั้งสองฝ่าย  ถ้าสามารถเจรจาตกลงกันได้จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด  ครับ

ขอบคุณมากๆ ครับ ^_^   
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น


Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 20 คำสั่ง