trachu.com ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19 พฤษภาคม 2024, 10:18:25 pm
หน้าแรก หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ กระดานข่าวตราชูดอทคอม ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย


+  TRACHU.COM : ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย
|-+  ชุมชนกฎหมาย
| |-+  ถามตอบปัญหากฎหมายสำหรับประชาชน (ผู้ดูแล: มโนธรรม)
| | |-+  คำถาม...ความแตกต่าง ระหว่าง " สิทธิ " และ " หน้าที่ "
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: คำถาม...ความแตกต่าง ระหว่าง " สิทธิ " และ " หน้าที่ "  (อ่าน 1753 ครั้ง)
Tanguy
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


« เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2015, 11:43:43 pm »

ความแตกต่าง ของคำว่า " สิทธิ " และ " หน้าที่ " มีความหมายอย่างไร และทั้ง 2 คำนี้ มีความสำคัญอย่างไรต่อการศึกษากฏหมายหรอคะ  ฮืม
บันทึกการเข้า
ทนายประมุข0873611107
รุ่นกลาง
***

ค่าพลัง: +1/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 154



« ตอบ #1 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2015, 10:48:54 am »

ความแตกต่าง ของคำว่า " สิทธิ " และ " หน้าที่ " มีความหมายอย่างไร และทั้ง 2 คำนี้ มีความสำคัญอย่างไรต่อการศึกษากฏหมายหรอคะ  ฮืม
สิทธิ และ หน้าที่

ความหมายของสิทธิ


สิทธิ คือ อำนาจอันชอบธรรม ซึ่งบุคคลทุกคนพึงมีพึงได้ โดยไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น
สิทธิที่มีอยู่นี้จะปรากฏในหลาย ๆ ด้าน เช่น สิทธิในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนทรัพย์สินต่าง ๆ ของตนเอง ที่เรียกว่า สิทธิตามกฎหมายแพ่ง หรือในการเลือกตั้งบุคคลทุกคนก็มีสิทธิในการ
เลือกตั้ง ตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ นอกจากนี้ยังมีสิทธิในร่างกาย สิทธิในการประกอบกิจการ
ต่าง ๆ ตามที่ตนเองต้องการและสิทธิที่สำคัญที่สุดของบุคคลก็คือ สิทธิตามกฎหมาย

สิทธิของประชาชนตามกฎหมาย


สิทธิของประชาชนตามกฎหมาย เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยรัฐธรรมนูญได้กำหดสิทธิของ
ประชาชนเอาไว้ โดยให้ถือว่าประชาชนไทยไม่ว่าแหล่งกำเนิด หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครอง แห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกันหมด เช่น
1. บุคคลย่อมมีสิทธิทางการเมือง หมายความว่า คนทุกคนย่อมสามารถเข้ามารับผิดชอบต่อ
บ้านเมือง โดยการใช้สิทธิตามกฎหมาย เช่น กฎหมายเลือกตั้ง เมื่อประชาชนอายุครบ 18 ปี ย่อมมีสิทธิ ที่จะเลือกตั้งผู้แทนราษฎร เพื่อให้ผู้แทนราษฎรไปทำหน้าที่ทางการเมืองแทนตนเอง ที่เป็นการตัดสินใจ ของประชาชนว่าจะได้ผู้แทนที่ไปทำหน้าที่ในด้านการเมืองได้ดีเพียงใด
2. บุคคลย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินและย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งสิทธิอันนั้นสามารถใช้อ้างอิง
หรือยืนยันกับบุคคลอื่นได้ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าทรัพย์สินจะไปอยู่ที่ใด จะถูกขโมยหรือ เคลื่อนย้ายไปที่อื่น ผู้เป็นเจ้าของก็ยังสามารถอ้างสิทธิอันนี้ได้โดยตลอด เพื่อให้ทรัพย์สินเหล่านั้นกลับคืนมาอยู่ที่เดิมหรือ อยู่ในความครอบครองอย่างเดิม ถ้าหากบุคคลอื่นครอบครองเอาไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือโดยไม่มี สิทธิก็ย่อมสามารถฟ้องร้องต่อศาล เพื่อบังคับให้เป็นไปตามสิทธิได้

ความหมายของหน้าที่


หน้าที่ หมายถึง ข้อปฏิบัติของบุคคลทุกคนที่จะต้องกระทำให้เกิดประโยชน์เป็นผลดีต่อ
ประเทศชาติบ้านเมือง หน้าที่ต่าง ๆ ที่จะต้องปฏิบัติ ซึ่งกำหนดเอาไว้ในรัฐธรรมนูญหลายประการ

หน้าที่ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ

1. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย หน้าที่ในข้อนี้ถือว่าเป็นหน้าที่อันสำคัญ
2. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ หน้าที่ข้อนี้มิใช่ว่าจะเป็นหน้าที่ของทหารเท่านั้น คนไทยทุกคน ต้องมีหน้าที่เช่นเดียวกัน
3. บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหารเพราะการเป็นทหารนั้นจะได้ทำหน้าที่ป้องกันประเทศโดยตรง พอถึงวัยหรืออายุตามที่กฎหมายกำหนดก็จะต้องไปรับราชการทหาร แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับบางคน ที่กฎหมายบัญญัติยกเว้นไว้
4. บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายเนื่องจากกฎหมายเป็นหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันในสังคม จึงจะละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้
5. บุคคลมีหน้าที่ช่วยเหลือราชการ เมื่อถึงคราวที่ประชาชนพอจะช่วยเหลือได้ หรือเมื่อทางราชการ ขอความช่วยเหลือในฐานะที่เป็นประชาชนพลเมืองของชาติจึงต้องมีหน้าที่อันนี้ เช่น การช่วยพัฒนา ถนนหนทาง การช่วยบริจาคทรัพย์สินต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งช่วยกันดูแลความสงบเรียบร้อยของ บ้านเมือง โดยการเป็นหูเป็นตาให้ราชการ

เครดิต Bloggang ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น


Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.025 วินาที กับ 18 คำสั่ง