trachu.com ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29 มีนาคม 2024, 06:37:15 pm
หน้าแรก หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ กระดานข่าวตราชูดอทคอม ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย


+  TRACHU.COM : ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย
|-+  ชุมชนกฎหมาย
| |-+  ถามตอบปัญหากฎหมายสำหรับประชาชน (ผู้ดูแล: มโนธรรม)
| | |-+  อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่ประกาศรับสมัครสอบไม่เป
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่ประกาศรับสมัครสอบไม่เป  (อ่าน 9491 ครั้ง)
namtang
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8


« เมื่อ: 20 มีนาคม 2014, 03:08:55 pm »

วันนี้มาขอคำแนะนำและการตีความของท่านผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย (โดยเฉพาะกฏหมายของข้าราชการครู) ครับ
  เรื่องมีอยู่ว่า อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่การศึกษา...  ได้มีมติประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย  ครั้งที่ ๑  ปี ๒๕๕๗  ตามกำหนดการที่ ก.ค.ศ กำหนด  คือ วันที่  ๑๗-๒๔  มีนาคม  ๒๕๕๗  พร้อมกันทุกเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ(ที่ประสงค์เปิดสอบ)
  ผมจึงได้ไปสมัครสอบที่ เขตพื้นที่การศึกษาแห่งหนึ่ง  ในกลุ่มวิชาสังคมศึกษา (ผมอยากจะเป็นครูสอนสังคมนั่นเอง)  โดยผมมีคุณวุฒิปริญญา รัฐศาสตรบัณฑิต  สาขา/วิชาเอก  การเมืองการปกครอง  และตามประกาศรับสมัครสอบของเขตพื้นที่การศึกษานี้  ระบุกลุ่มสาขาวิชาเอกสังคมศึกษา ไว้  31 สาขาวิชาเอก ที่สามารถสมัครสอบได้ โดยที่เกี่ยวข้องกับคุณวุฒิด้านรัฐศาสตร์ มี 2 สาขาวิชาเอก  คือ  รัฐศาสตร์  และ  รัฐประศาสนศาสตร์ 
  ซึ่งผมเข้าใจว่า รัฐศาสตร์(รัฐศาสตรบัณฑิต)  นั่นโดยส่วนใหญ่จะแยกออกเป็น 3 สาขาวิชาเอก คือ 1. การเมืองการปกครอง2. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (การฑูต)และ3. รัฐประศาสนศาสตร์ หรือ บริหารรัฐกิจ  ดังนั้น  ผมจึงสมควรสมัครสอบได้
  แต่เจ้าหน้าที่และกรรมการวินิจฉัย การรับสมัครสอบ  ไม่ให้ผมสมัครสอบ  โดยบอกว่าชื่อสาขาวิชาเอกไม่ตรงตามประกาศรับสมัคร  เพราะตามประกาศ  ต้องเป็นสาขา วิชาเอก 1 ใน 31 ข้อ ที่ระบุไว้เท่านั้น 
  ผมจึงอยากทราบว่า  การประกาศรับสมัครสอบตามมติ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่...  ของเขตนี้ถูกต้องตามระเบียบและเป็นธรรมแล้วหรือไม่ และผมควรร้องเรียนต่อหน่วยงานใด  เพื่อให้ตรวจสอบมติ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่นี้ได้  เพราะ  ผมคิดว่า  มันไม่ยุติธรรม  ไม่เป็นไปตามหลักการบริการกิจการบ้านเมืองที่ดี  ด้วยเหตุผล  ดังน้ี
  ๑.แม้ในประกาศรับสมัครจะกำหนดไว้ว่าต้องเป็นสาขาวิชาเอกที่ระบุไว้ในประกาศเท่านั้น  แต่  สาขาวิชาเอก รัฐศาสตร์  ที่เปิดสอนทั่วประเทศ  ผมเห็นมีอยู่มหาวิทยาลัยเดียว คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  และสาขา วิชาเอก รัฐประศาสนศาสตร์  นั้นก็มีเปิดสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏเกือบทุกแห่งในประเทศ  ในขณะที่  มหาวิทยาลัยของรัฐที่ริเริ่มการสอนรัฐศาสตร์ในประเทศไทย  เช่น  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ธรรมศาสตร์  เชียงใหม่  เกษตรศาสตร์  รามคำแหง  สงขลานครินทร์  มหาสารคาม อื่นๆ  ซึ่งเปิดสอนรัฐศาสตร์แยกเป็น 3 สาขา หลัก ได้แก่ 1. การเมืองการปกครอง(บ้างมหาลัย การปกครอง, การเมืองและการปกครอง) 2. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (การฑูต)และ3. รัฐประศาสนศาสตร์ หรือ บริหารรัฐกิจ ซึ่งถ้าเทียบประวัติการเปิดสอนสาขา วิชาเอกเและความเชี่ยวชาญใน มหาวิทยาลัยเหล่านี้ ก็น่าจะมีความเชี่ยวชาญและการเรียนการสอนที่ชำนาญมากกว่า มหาลัยราชภัฏที่พึ่งเปิดสอนสาขา วิชาเอกเหล่านี้ (สามารถสืบค้นคุณภาพการศึกษาได้ตามอินเตอร์เน็ท) 
   แต่  บัณฑิตที่จบรัฐศาสตร์(รัฐศาสตรบัณฑิต) สาขา วิชาเอก  การเมืองการปกครอง(บางมหาลัยใช้คำว่า การปกครอง, การเมืองและการปกครอง) และ สาขา วิชาเอกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (การฑูต) กลับไม่มีสิทธิสมัครสอบได้  ทั้งที่  ก.ค.ศ. ได้รับรองคุณวุฒิให้บรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูได้
   ดังนั้น  การกำหนดคุณสมบัติ กำหนดสสาขา วิชาเอกแบบนี้จะเป็นการริดรอนสิทธิของบุคคลจำนวนมากหรือไม่  และจะถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยอาศัยอำนาจหน้าที่  กฎหมาย ที่ไม่ชอบธรรมหรือไม่  เพราะคนที่ไม่มีสิทธิสมัครสอบก็เป็นผู้จบรัฐศาสตร์เหมือนกัน  ทำไม่รัฐประศาสนศาสตร์ สมัครได้อยู่อันเดียว  และ สาขา วิชาเอก ที่มีเพียงมหาวิทยาลัยเดียวเปิดสอน(และเพิ่งเปิดสอนด้วย) มีสิทธิสมัครสอบ และถ้าหากว่าไม่ต้องการรัฐศาสตร์ก็ควรตัดไปเลยไม่ควรให้มีสาขา วิชาเอก ด้านรัฐศาสตร์ครับ (สรุปเขาต้องการครูคุณภาพหรือต้องการเอื้อผลประโยชน์ให้ใครโดยเฉพาะหรือไม่)

ลิ้งกระทู้ประกาศรับสมัครครับ

http://210.246.188.54/ubon3/uploads/group06/2014-03-11_101706_File.PDF
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 มีนาคม 2014, 03:53:52 pm โดย namtang » บันทึกการเข้า
มโนธรรม
รองผู้ดูแลระบบ
รุ่นเก๋า
*

ค่าพลัง: +13/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 811


« ตอบ #1 เมื่อ: 21 มีนาคม 2014, 01:13:24 pm »

แม้จะเรียนจบ  รัฐศาสตร์  และ  รัฐประศาสนศาสตร์    แต่ถ้าไม่ได้เรียนวิชาครู  อย่างน้อย 18 หน่วยกิต   ก็ย่อมขาดคุณสมบัติของการรับสมัครเป็นครู   คุณควรตรวจสอบในประเด็นนี้ให้ชัดเจนก่อน   ถ้าไม่ได้ลงทะเบียนเรียนวิชาครู 18 หน่วยกิต  การที่คณะกรรมการไม่รับสมัครนั้นถูกต้องแล้ว  แต่ถ้ามีการลงทะเบียนวิชาครู  ครบถ้วน   ถ้าถูกตัดสิทธิ์  ก็ฟ้องศาลปกครองได้ ครับ
บันทึกการเข้า
namtang
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8


« ตอบ #2 เมื่อ: 22 มีนาคม 2014, 09:02:33 pm »

คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ที่สำคัญของข้าราชการครูมีอยู่ว่า 
๑.มีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษา  เทียบเท่า หรือ  คุณวุฒิอื่นที่ ก.ค.ศ.รับรอง
(ข้อนี้ผมก็มีคุณสมบัติเป็นคุณวุฒิอื่นที่ ก.ค.ศ รับรอง)
๒.มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู  หรือ ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน
(ข้อนี้ผมก็มีครับ  ผมมีใบอนุญาตปฏิบัติการสอน  ได้มาโดยฝึกอบรมมาตรฐานวิชาชีพครู 9 มาตรฐาน จากครุสภาครับ)

แต่ที่เป็นปัญหา คือ การที่ อ.ก.ค.ศ.กำหนดสาขา วิชาเอก รัฐศาสตร์  และ รัฐประสาศนศาสตร์ กำหนดให้เพียงสองสาขา วิชาเอกนี้สมัครสอบได้  มันไม่ยุติธรรม  และเป็นการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้บางมหาวิทยาลัยเท่านั้น และปิดกั้นสิทธิของผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะเป็นครูตามที่ ก.ค.ศ.กำหนดไว้
   เพราะในความเป็นจริงแล้วมหาวิทยาลัยทั่วประเทศเกือบทั้งหมด จะเปิดสอนรัฐศาสตร์(รัฐศาสตรบัณฑิต) สาขา วิชาเอก  การเมืองการปกครอง(บางมหาลัยใช้คำว่า การปกครอง, การเมืองและการปกครอง) และ สาขา วิชาเอกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (การฑูต) กลับไม่มีสิทธิสมัครสอบได้
  แต่จะมีเพียงม.ราชภัฏศรีสะเกษ จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย(พระ) เท่านั้น (หรือหากจะมี ม.อื่นอีกก็ไม่น่าจะเกิด 4 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ)  อ.ก.ค.ศ.กลับกำหนดให้เป็นสาขา วิชาเอก ที่สมัครได้  โดยไม่ดูโครงสร้างการเรียนการสอนรัฐศาสตร์ในประเทศว่าเขาแบ่งอย่างไร  ใช้ชื่อสาขา วิชาเอกอย่างไร  เพราะรัฐศาสตร์ทั่วประเทศเขาก็แยกสาขา วิชาเอกหลักๆ ตามตัวหนังสือสีแดงที่ผมทำไว้เท่านั้น  ส่วนสาขา วิชาเอก รัฐศาสตร์ ที่เพิ่งเปิดสอน และมีเพียงไม่กี่แห่งที่สอน ซึ่งเป็นส่วนน้อยและน้อยมากจริงๆ กลับถูกกำหนดให้สมัครสอบได้แต่ ตัวส่วนมากมากจริงๆและมีประวัติยาวนานกว่ากลับไม่กำหนดให้สมัครได้  มันไม่ถูกครับ

หมายเหตุ ที่กรรมการรับสมัครสอบ  และ อ.ก.ค.ศ. เขาไม่ให้ผมสมัครสอบ  เพราะเขาบอกว่าผมขาดตรง  คำว่า  สาขา วิชาเอก ที่เขาบอกว่า  ต้องเป็น  รัฐศาสตร์  คือ ต้องเขียน สาขา วิขาเอก รัฐศาสตร์ เท่านั้น
     แม้จะจบคณะรัฐศาสตร์ แต่ชื่อสาขา วิชาเอก เป็นชื่อ สาขา วิชาเอก  การเมืองการปกครอง(บางมหาลัยใช้คำว่า การปกครอง, การเมืองและการปกครอง) และ สาขา วิชาเอกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (การฑูต)  ก็สมัครไม่ได้  ผมงงตรงแค่ชื่อวิชาเอกไม่ตรงกันก็ไม่ให้สมัครนี้แหละ  (ทั้งที่เนื้อหาการเรียนการสอนมันไม่ต่างกันหรอก)
   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มีนาคม 2014, 09:10:52 pm โดย namtang » บันทึกการเข้า
มโนธรรม
รองผู้ดูแลระบบ
รุ่นเก๋า
*

ค่าพลัง: +13/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 811


« ตอบ #3 เมื่อ: 23 มีนาคม 2014, 02:30:39 am »

ความเห็น  การที่มีวิชาเอกต่อท้ายว่า การเมืองการปกครอง และการทูต  น่าจะขาดคุณสมบัติ    เพราะเขาต้องการคนมาเป็นครู   คงเน้นเรื่องวิชาครูเป็นสำคัญ   อย่างไรก็ตาม   ถ้าคุณยังค้างคาใจ   ก็สามารถใช้สิทธิฟ้องศาลปกครองให้วินิจฉัยว่า  คุณมีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่  ครับ
บันทึกการเข้า
มโนธรรม
รองผู้ดูแลระบบ
รุ่นเก๋า
*

ค่าพลัง: +13/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 811


« ตอบ #4 เมื่อ: 23 มีนาคม 2014, 02:44:06 am »

เพิ่มเติม   ที่คุณบอกว่า   เนื้อหาการเรียนไม่แตกต่างกันนั้น   คุณน่าจะเข้าใจคลาดเคลื่อนมากกว่า   วิชาครู   จะเน้น  วิชาการศึกษา   หลักจิตวิทยาเด็ก  การเรียการสอน  การใช้สื่อและนวัตกรรมต่างๆเพื่อใช้ในการเรียนการสอน เป็นสำคัญ....ส่วนการเมืองการปกครอง  การทูต   ใช้สำหรับนักปกครอง  เช่นปลัดอำเภอ  ปลัดเทศบาล นายอำเภอ ผู้ว่าฯ   ส่วนการฑูต  ชื่อก็บอกแล้วว่า  ต้องเป็นนักการฑูต  จึงน่าจะแตกต่างจากการใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนโดยสิ้นเชิง  ถ้าเป็นสมัยเมื่อก่อนๆ  คงไม่มีปัญหา  ใครจบอะไรมาก็คงสมัครเป็นครูได้  แม้แต่ช่างยนต์  และสารพัดช่างทั้งหลาย   แต่เกิดปัญหาในการเรียนการสอนอย่างมากในระยะยาว   เพราะไม่ได้เรียนวิชาครู ผลผลิตจาการศึกษาในประเทศจึงเพี้ยนๆชอบกล  จนกระทั่งทุกวันนี้   จึงมีการเข้มงวดในเรื่องนี้มากขึ้น  คือคนจะเป็นครู ต้องเรียนวิชครู   และต้องมีเงื่อนไขอื่นๆ ตามที่ อ.ก.ศ. กำหนด ครับ
บันทึกการเข้า
namtang
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8


« ตอบ #5 เมื่อ: 23 มีนาคม 2014, 08:33:24 am »

เนื้อหาในที่นี้หมายถึง คำว่า สาขา วิชาเอก รัฐศาสตร์ ครับ  ซึ่งในประเทศนี้ มีเปิดสอนแค่ไม่กี่ที่ ปกติก็จะมีเพียงสอนรัฐศาสตร์(รัฐศาสตรบัณฑิต) สาขา วิชาเอก  การเมืองการปกครอง(บางมหาลัยใช้คำว่า การปกครอง, การเมืองและการปกครอง) และ สาขา วิชาเอกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (การฑูต)   เขาจะไม่ใช้ชื่อ สาขา วิชาเอก ว่า  รัฐศาสตร์  กันหรอกครับ
  แค่ชื่อมันต่างกันแต่สมัครสอบไม่ได้  แถม ไอ้สาขา วิชาเอก รัฐศาสตร์ (มันไม่ใช่วิชาครูแน่นอนครับ) เอื้อประโยชน์ให้บางคน บางกลุ่ม บางมหาลัย ชัดๆ และยังตัดสิทธิคนอื่นและเป็นคนส่วนใหญ่ที่มีสิทธิเป็นครูด้วยครับ
บันทึกการเข้า
namtang
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8


« ตอบ #6 เมื่อ: 23 มีนาคม 2014, 08:35:57 am »

วิชาครูผมก็เรียนมาหมดแล้วครับ ครบ 9 มาตรฐาน จึงได้ ใบปฏิบัติการสอนมา

ใครที่มีใบอนุญาตปฏิบัติการสอน หรือ ใบ อนุญาตประกอบวิชาชีพ  แปลว่า เขาได้เรียน  ได้ฝึกอบรม หรือ มีความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพครู(วิชาครู) ครบเรียบร้อยแล้วครับ  พร้อมที่จะเป็นครูได้เลย

งงอีกวันนี้  เพื่อนผมที่จบมาด้วยกัน สาขาวิชาเอกเดียวกัน  กรรมการรับสมัครก็ให้สมัครสอบได้ (2 มาตรฐานชัดๆ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มีนาคม 2014, 08:23:26 pm โดย namtang » บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น


Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.142 วินาที กับ 19 คำสั่ง