trachu.com ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25 เมษายน 2024, 01:58:22 pm
หน้าแรก หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ กระดานข่าวตราชูดอทคอม ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย


+  TRACHU.COM : ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย
|-+  ชุมชนกฎหมาย
| |-+  ถามตอบปัญหากฎหมายสำหรับประชาชน (ผู้ดูแล: มโนธรรม)
| | |-+  สถานภาพกำกวม
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: สถานภาพกำกวม  (อ่าน 9995 ครั้ง)
Lipton
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


« เมื่อ: 30 กันยายน 2011, 01:47:35 pm »

ดิฉันแต่งงานกับนายตำรวจมาได้ปีกว่าแต่ไม่ได้จดทะเบียน มีลูกชาย 1 คน อายุ 1 ขวบ(ใช้นามสกุลของสามี ไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร แต่เขาก็ส่งเงินค่าเลี้ยงดูลูกทุกเดือน) ต่อมาได้เลิกรากันไปโดยที่ลูกชายอยู่กับดิฉัน อยากถามคำถามดังนี้ค่ะ
1. ดิฉันจะใช้สถานภาพใดเวลากรอกเอกสารสำคัญทางราชการ (โสดก็ไม่ได้เพราะมีลูก สมรสก็ไม่มีทะเบียน หย่าก็ไม่ได้ ม่ายสามีก็ยังไม่ตาย) งงค่ะ
2. ลูกของดิฉันจะได้รับการจดทะเบียนรับรองบุตรก็ต่อเมื่อเขาจะเขียนชื่อตัวเองได้เหรอคะ(ฟังมาจากนายทะเบียนที่อำเภอ)
หรือว่าจดได้ตั้งแต่คลอดเลยคะ
3. สิทธิของทางราชการมีอะไรให้ลูกของดิฉันบ้างคะ เพราะตอนนี้ลูกชายไม่มีสิทธิเบิกอะไรเลย

รบกวนถามเท่านี้ก่อนค่ะ ขอบคุณล่วงหน้านะคะ
บันทึกการเข้า
มโนธรรม
รองผู้ดูแลระบบ
รุ่นเก๋า
*

ค่าพลัง: +13/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 811


« ตอบ #1 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2012, 03:56:44 pm »

1. ดิฉันจะใช้สถานภาพใดเวลากรอกเอกสารสำคัญทางราชการ (โสดก็ไม่ได้เพราะมีลูก สมรสก็ไม่มีทะเบียน หย่าก็ไม่ได้ ม่ายสามีก็ยังไม่ตาย) งงค่ะ

ตอบ...ในเมื่อยังไม่จดทะเบียนสมรส  ก็ใส่สถานภาพว่า โสด ได้ ครับ

2. ลูกของดิฉันจะได้รับการจดทะเบียนรับรองบุตรก็ต่อเมื่อเขาจะเขียนชื่อตัวเองได้เหรอคะ(ฟังมาจากนายทะเบียนที่อำเภอ)

ตอบ...ไม่ใช่   ดูแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ยกมาครับ

หรือว่าจดได้ตั้งแต่คลอดเลยคะ

ตอบ...ใช่

3. สิทธิของทางราชการมีอะไรให้ลูกของดิฉันบ้างคะ เพราะตอนนี้ลูกชายไม่มีสิทธิเบิกอะไรเลย

ตอบ...ถ้าสามีของคุณจดทะ้บียนรับรองบุตร  หรือจดทะเบียนสมรสกับคุณในภายหลัง  สิทธิประโยชน์ที่บุตรจะได้รับได้แก่  การเบิกค่าเล่าเรียนบุตร   การเบิกค่ารักษาพยาบาล  ถ้าเป็นคนไข้ใน  จะสามารถจ่ายตรงจากกรมบัญชีกลาง   โดยที่คุณไม่ต้องไปใช้เิงินให้โรงพยาบาลก่อน ซึ่งย่อมมีผลให้บุตรได้รับการดูแลที่พิเศษมากกว่าปกติ  และบุตรสามารถรับมรดก  หรือบำเหน็จตกทอดของบิดาได้  กรณีบิดาเสียชีวิต  ดังนั้นจึงควรขวนขวายให้สามีจดทะเบียนรับรองบุตรครับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1487/2525

เรือตรีทองเจือ ขวัญเจริญ ร.น      โจทก์

นายตุ๊ พานิช กับพวก                จำเลย
 
ป.พ.พ. มาตรา 1548, 1557, 1566, 1567
 
          โดยสายโลหิตแล้วโจทก์เป็นบิดาที่แท้จริงของ จ. และโจทก์ยังได้จดทะเบียนรับรองว่า จ. เป็นบุตรของตนอีกขั้นหนึ่งด้วย โจทก์จึงเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ จ.นับตั้งแต่วันจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1557 และเป็นผู้ปกครองของ จ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรของตนคืนจากน้าของบุตรคือจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ยอมคืนบุตรให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1567(4)
          ขณะโจทก์จดทะเบียน จ. เป็นบุตรนั้น มารดาของ จ.ถึงแก่กรรมไปแล้วและขณะนั้น จ. มีอายุเพียง 1 ปีเศษมารดา จ. และ จ. จึงไม่อาจคัดค้านหรือให้ความยินยอมในการขอจดทะเบียนได้ การจดทะเบียนดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548
 
________________________________
 
          โจทก์ฟ้องว่า นางฉวีวรรณเป็นบุตรของจำเลยที่ 1 และเป็นน้องสาวจำเลยที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2522 โจทก์กับนางฉวีวรรณได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยเปิดเผย เกิดบุตรด้วยกัน 1 คนคือเด็กชายเจริญวุฒิ โจทก์ให้การอุปการะเลี้ยงดู ให้การศึกษา ให้ใช้นามสกุลแก่เด็กชายเจริญวุฒิตลอดมา เป็นพฤติการณ์ที่รู้กันอยู่ทั่วไปตลอดมาว่าเด็กชายเจริญวุฒิเป็นบุตรโจทก์ และต่อมาโจทก์ได้จดทะเบียนรับรองเด็กชายเจริญวุฒิเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วส่วนนางฉวีวรรณได้ถึงแก่กรรมในวันเดียวกับที่เด็กชายเจริญวุฒิเกิด โจทก์ยินยอมให้เด็กชายเจริญวุฒิอาศัยอยู่กับจำเลยทั้งสองชั่วคราว เมื่อเดือนตุลาคม 2522 โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองคืนเด็กชายเจริญวุฒิแก่โจทก์เพื่อไปอยู่ร่วมกับโจทก์ที่กรุงเทพฯ จำเลยไม่ยอมคืน ขอให้ศาลพิพากษาบังคับ
          จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูเด็กชายเจริญวุฒิมาตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน โจทก์ไม่เคยไปมาหาสู่และส่งเสียให้การศึกษา โจทก์กับนางฉวีวรรณมิได้จดทะเบียนสมรส เด็กชายเจริญวุฒิจึงเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนางฉวีวรรณแต่ฝ่ายเดียว เมื่อโจทก์จดทะเบียนรับรองบุตร นางฉวีวรรณก็มิได้ให้ความยินยอมและไม่มีผู้ใดให้ความยินยอมแทนเด็กชายเจริญวุฒิ เจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้แจ้งความการขอจดทะเบียนไปยังเด็กและมารดาเด็ก จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้พิพากษายกฟ้อง
          หลังจากยื่นคำให้การจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรม โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ศาลอนุญาต จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1
          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 คืนหรือส่งมอบเด็กชายเจริญวุฒิให้แก่โจทก์
          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
          จำเลยที่ 2 ฎีกา
          ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นบิดาของเด็กชายเจริญวุฒิ ขวัญเจริญอันเกิดจากนางฉวีวรรณ พานิช หรือขวัญเจริญ ภริยาโจทก์ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เด็กชายเจริญวุฒิเกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2513 และในวันเดียวกันนั้นนางฉวีวรรณได้ถึงแก่กรรม ต่อมาวันที่ 10 พฤษภาคม 2515 โจทก์ได้ขอจดทะเบียนรับรองเด็กชายเจริญวุฒิ ขวัญเจริญ เป็นบุตร และในวันเดียวกันเจ้าหน้าที่นายทะเบียนได้จดทะเบียนการรับรองบุตรดังกล่าวให้โจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 เป็นน้องสาวของนางฉวีวรรณ เป็นน้าของเด็กชายเจริญวุฒิและเป็นผู้อุปการะเลี้ยงเด็กชายเจริญวุฒิมาตั้งแต่เกิด และวินิจฉัยว่าโดยสายโลหิตแล้ว โจทก์เป็นบิดาที่แท้จริงของเด็กชายเจริญวุฒิ ขวัญเจริญ และโจทก์ยังได้จดทะเบียนรับรองว่าเด็กชายเจริญวุฒิเป็นบุตรของตนอีกชั้นหนึ่งด้วย โจทก์จึงเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชายเจริญวุฒินับแต่วันจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557 และเป็นผู้ปกครองเด็กชายเจริญวุฒิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรของตนคืนจากน้าของบุตรคือจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ยอมคืนบุตรมาให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(4)
          ข้อที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์จดทะเบียนเด็กชายเจริญวุฒิ เป็นบุตรโจทก์ไม่ได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ทั้งเจ้าหน้าที่ก็มิได้แจ้งการขอจดทะเบียนไปยังเด็กและมารดาเด็ก การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรของโจทก์จึงขัดต่อบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ศาลฎีกาเห็นว่าขณะโจทก์จดทะเบียนเด็กชายเจริญวุฒิเป็นบุตรนั้น นางฉวีวรรณมารดาเด็กชายเจริญวุฒิได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว และขณะนั้นเด็กชายเจริญวุฒิก็มีอายุเพียง 1 ปีเศษ นางฉวีวรรณและเด็กชายเจริญวุฒิจึงไม่อาจคัดค้านหรือให้ความยินยอมในการขอจดทะเบียนนั้นได้ การจดทะเบียนดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 จึงฟังได้ว่าการจดทะเบียนรับรองบุตรของโจทก์สมบูรณ์และชอบด้วยกฎหมายแล้ว
          พิพากษายืน
 
 
( สหัส สิงหวิริยะ - อัมพล สุวรรณภักดี - สมบูรณ์ บุญภินนท์ )
 
 ครับ

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น


Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.035 วินาที กับ 19 คำสั่ง