trachu.com ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19 เมษายน 2024, 09:45:10 pm
หน้าแรก หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ กระดานข่าวตราชูดอทคอม ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย


+  TRACHU.COM : ชุมชนออนไลน์นักกฎหมายไทย
|-+  ชุมชนกฎหมาย
| |-+  ถามตอบปัญหากฎหมายสำหรับประชาชน (ผู้ดูแล: มโนธรรม)
| | |-+  อยากทราบเกี่ยวกับการรับมรดกแทนที่ค่ะ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบเกี่ยวกับการรับมรดกแทนที่ค่ะ  (อ่าน 8685 ครั้ง)
Freungdek
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6


« เมื่อ: 21 เมษายน 2017, 05:10:53 pm »

อยากทราบว่าถ้าแม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก และศาลสั่งให้โอนที่ดินมรดกไปให้น้องชายแม่ แต่แม่มีลูกสาวเป็นผู้สืบสันดาร สามารถรับมรดกแทนที่ตามกฎหมาย ม.1607 จะสามารถทวงสิทธิ์ให้ลูกสาวได้อย่างไรคะ ปล. ที่ดินยังไม่มีการโอนค่ะ
บันทึกการเข้า
มโนธรรม
รองผู้ดูแลระบบ
รุ่นเก๋า
*

ค่าพลัง: +13/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 811


« ตอบ #1 เมื่อ: 22 เมษายน 2017, 04:01:50 am »

การรับมรดกแทนที่

  คุณสามารถรับมรดกแทนที่ได้ ตาม ปพพ. ม.1607  ประกอบ ปพพ. ม.1639 ก็ต้องแจ้งไปยังน้า (น้องแม่)ให้แบ่งมรดกส่วนของแม่ให้คุณ  ถ้าไม่แบ่งปัน  ก็ต้องหาทางเจรจากัน โดยมีผู้รู้ เป็นคนกลางช่วยเคลียร์ปัญหาให้ ถ้าไม่ได้ผล ต้องฟ้องศาล  และแจ้งให้อายัดมรดกไว้ก่อน  ครับ

...กรณีตัวอย่าง...
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6782/2544
คำพิพากษาย่อสั้น
จำเลยปลอมพินัยกรรมของเจ้ามรดก จำเลยจึงต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก แต่การถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรนั้นเป็นการเฉพาะตัว บุตรของจำเลยซึ่งไม่ได้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกย่อมสืบมรดกต่อไปได้เหมือนหนึ่งว่าจำเลยตายแล้ว ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1607, 1639
เจ้ามรดกมีบุตร 2 คน คือโจทก์และจำเลย เมื่อจำเลยถูกกำจัดมิให้รับมรดกและบุตรของจำเลยรับมรดกแทนที่แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิรับมรดกเพียงกึ่งหนึ่ง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า นายทอง ศรีบุญเรือง และนางแพง ศรีบุญเรือง เป็นบิดามารดาของโจทก์กับจำเลย ต่อมานายทองและนางแพงได้รับนายชัยณรงค์ ศรีบุญเรือง บุตรของโจทก์เป็นบุตรของนายทองและนางแพงอีกคนหนึ่ง นายทองและนางแพงมีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันโดยระบุชื่อในเอกสารสิทธิว่านางแพงเป็นเจ้าของ คือ ที่ดิน 6 แปลง นายทองถึงแก่ความตายเมื่อปี 2526 ส่วนนางแพงถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 โดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ระหว่างวันที่ 8 ตุลาคม 2536 ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 จำเลยกับพวกร่วมกันปลอมพินัยกรรมของนางแพงโดยระบุว่านางแพงยกทรัพย์สินทั้งหมดให้จำเลยและตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก เนื่องจากนางแพงป่วยหนักและเมื่อนางแพงถึงแก่ความตายจำเลยกับพวกประทับลายพิมพ์นิ้วมือของนางแพงลงในพินัยกรรม พินัยกรรมดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2537 จำเลยยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้น ขอให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม และศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนางแพงเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 410/2537 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2537 และวันที่ 7 เมษายน 2538 จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินแปลงที่ 3 และที่ 1 ตามลำดับเป็นของตน จำเลยจึงถูกกำจัดมิให้รับมรดกของนางแพง ทรัพย์สินทั้งหมดของนางแพงจึงตกเป็นของโจทก์ ขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรมของนางแพง ฉบับลงวันที่ 8 ตุลาคม 2536 เป็นโมฆะ และให้กำจัดจำเลยมิให้รับมรดกของนางแพงในที่ดินทั้งหกแปลงดังกล่าวโดยให้ที่ดินดังกล่าวตกแก่โจทก์แต่เพียงผู้เดียว และให้เพิกถอนคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกของนางแพง คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 410/2537 ของศาลชั้นต้น เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินแปลงที่ 3 และแปลงที่ 1 ระหว่างจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกกับจำเลยในฐานะส่วนตัว และเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดิน ตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินแปลงที่ 10
จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาเป็นว่า ให้พินัยกรรมของนางแพง ฉบับลงวันที่ 8 ตุลาคม 2536 ตกเป็นโมฆะ และกำจัดจำเลยมิให้รับมรดกของนางแพง ศรีบุญเรือง ฐานเป็นผู้ไม่สมควร เฉพาะมรดกตามเอกสารหมาย จ. 1 และให้ที่ดินทั้ง 6 แปลง ตกแก่โจทก์ ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนรับมรดกของจำเลยในที่ดินแปลงที่ 3 และที่ 1
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์และจำเลยเป็นพี่น้องกันโดยต่างเป็นบุตรของนายทองกับนางแพง นายทองถึงแก่ความตายเมื่อปี 2526 ส่วนนางแพงถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 นางแพงมีทรัพย์มรดกเป็นที่ดิน 6 แปลง… และพินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ. 1 นั้นเป็นพินัยกรรมที่จำเลยกับพวกทำปลอมขึ้น จึงตกเป็นโมฆะไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้กำจัดจำเลยมิให้รับมรดกของนางแพงฐานเป็นผู้ไม่สมควร เฉพาะมรดกตามพินัยกรรมนั้นได้ความจากพยานโจทก์ว่า จำเลยมีบุตรเป็นผู้สืบสันดาน ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยปลอมพินัยกรรมของนางแพงเจ้ามรดก จำเลยจึงต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของนางแพงก็ตาม แต่การถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรนั้นเป็นการเฉพาะตัว บุตรของจำเลยซึ่งไม่ได้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกของนางแพงย่อมสืบมรดกของนางแพงต่อไปได้เหมือนหนึ่งว่าจำเลยตายแล้วตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1607, 1639 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นางแพงเจ้ามรดกมีบุตร 2 คน คือโจทก์และจำเลย เมื่อจำเลยถูกกำจัดมิให้รับมรดก และบุตรของจำเลยรับมรดกแทนที่ดังวินิจฉัยมาแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิรับมรดกเพียงกึ่งหนึ่ง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247…
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ที่ดินพิหลอกลวงทั้ง 6 แปลงตกแก่โจทก์เพียงกึ่งหนึ่ง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4.
บันทึกการเข้า
Freungdek
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6


« ตอบ #2 เมื่อ: 22 เมษายน 2017, 02:58:39 pm »

ขอบพระคุณมากค่ะ แล้วอยากทราบอีกอย่างว่าถ้าแม่ที่ถูกกำจัดออกจากมรดกแล้ว แม่กำลังตั้งครรภ์ ถ้าเด็กเกิดหลังจากโดนกำจัดมรดกแล้ว จะมีสิทธิ์ได้รับมรดกแทนที่ด้วยไหมคะ หรือได้เฉพาะเด็กที่เกิดก่อนจะถูกกำจัดคะ
บันทึกการเข้า
มโนธรรม
รองผู้ดูแลระบบ
รุ่นเก๋า
*

ค่าพลัง: +13/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 811


« ตอบ #3 เมื่อ: 23 เมษายน 2017, 02:19:39 am »

การรับมรดกแทนที่

 กรณีของคุณ  น้องที่เกิดมาภายหลังก็ย่อมได้รับมรดกแทนที่ด้วย ก็เป็นคนในครอบครัว  ก็รับมรดกแทนที่ส่วนของแม่มาก่อน  เรื่องแบ่งปันกับน้องคนเล็ก ค่อยว่ากันภายหลัง ครับ
บันทึกการเข้า
Freungdek
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6


« ตอบ #4 เมื่อ: 27 พฤษภาคม 2017, 01:09:59 pm »

น้องไม่ยอมค่ะ จะต้องยื่นฟ้องศาลหัวข้ออะไรดีคะ ขอโต้แย้งสิทธิ์ให้ลูกสาวหรือคะ
บันทึกการเข้า
อนัตตา
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 22


« ตอบ #5 เมื่อ: 27 พฤษภาคม 2017, 03:49:55 pm »

การรับมรดกแทนที่

    อ่านแล้วก็ยัง งง  ก็ขอตอบตามความเข้าใจ ในเมื่อแม่ถูกกำจัดไม่ให้รับมรดก  มรดกส่วนของแม่ จะตกทอดแก่คุณและน้อง  คนละเท่าๆกัน...ถ้าน้องไม่ยอม ก็ร้องศาลขอให้แบ่งปันมรดก ในฐานะผู้รับมรดกแทนที่  ก็ควรใช้การเจรจากันแบ่งปันเท่าๆกัน  ทำไมต้องฟ้องศาล ให้สิ้นเปลือง ครับ

                                                                           มโนธรรม   
บันทึกการเข้า
Freungdek
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6


« ตอบ #6 เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2017, 12:11:35 pm »

คุยแล้วน้องไม่ยอมค่ะ น้องบอกว่าศาลสั่งให้ยกให้เขาแล้ว อยากได้ก้อไปฟ้องเอา แต่ต้องโอนที่มาเป็นของเขาตามที่ศาลด้วย แต่ยังไม่กล้าโอนค่ะ ฉโนดอยู่กับเรา เพราะเขาเตรียมที่จะขายเปลี่ยนมือ ที่คุยนี่คือคุยข้างนอกนะคะ แล้วเขาก็ไม่ยอมคุยกับเราอีกเลย
บันทึกการเข้า
อนัตตา
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 22


« ตอบ #7 เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2017, 03:37:53 pm »

การแบ่งปันมรดก

   ถ้าใช้การเจรจาไม่เป็นผล  ก็คงต้องปล่อยให้น้องฟ้องศาล  คุณก็ยื่นคำให้การต่อสู้ว่า ได้รับมรดกแทนที่แม่ ระหว่างคุณและน้อง  ต้องแบ่งเท่าๆกัน ครับ
บันทึกการเข้า
ทนายประมุข0873611107
รุ่นกลาง
***

ค่าพลัง: +1/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 154



« ตอบ #8 เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2017, 04:18:03 pm »

การแบ่งปันมรดก

   ถ้าใช้การเจรจาไม่เป็นผล  ก็คงต้องปล่อยให้น้องฟ้องศาล  คุณก็ยื่นคำให้การต่อสู้ว่า ได้รับมรดกแทนที่แม่ ระหว่างคุณและน้อง  ต้องแบ่งเท่าๆกัน ครับ
เรื่องนี้ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรยุ่งยากครับ
บันทึกการเข้า
Freungdek
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6


« ตอบ #9 เมื่อ: 30 พฤษภาคม 2017, 11:36:24 am »

น้องเคยฟ้องแม่กำจัดออกจากมรดก และยักยอกทรัพย์มรดกแล้วค่ะ แม่โดนจำคุกสองปี ศาลแพ่งฎีกาก็สั่งกำจัดค่ะ พอจะเอาลูกมารับมรดกแทนที่น้องแม่ก็ไม่ยอมค่ะ ปัญหาคือ 1 โฉนดยังไม่ได้โอนเป็นชื่อน้องแม่  2 น้องแม่ยังไม่ได้โต้แย้งสิทธ์ ไม่ได้ดำเนินการอะไรเลย ตอนนี้จึงไม่ทราบว่าควรยื่นเรื่องต่อศาลว่ายังไง เพราะยังไม่มีเจ้าทุกข์ พอคุยกับน้องแม่เหมือนเขาก็จะไม่ยอมอะไรเลย แต่ที่ไม่โต้แย้งสิทธิ์ เพราะอาจรอให้หมดอายุความ แล้วลูกก็หมดสิทธิ์ เคยไปยื่นร้องต่อศาลเรื่องรับมรดกแทนที่ ศาลบอกมีสิทธิ์ แต่ไม่บอกว่าต้องยื่นยังไงอ่ะค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 พฤษภาคม 2017, 12:29:57 pm โดย Freungdek » บันทึกการเข้า
อนัตตา
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 22


« ตอบ #10 เมื่อ: 30 พฤษภาคม 2017, 02:59:30 pm »

การรับมรดกแทนที่

  ก็ตอบมาแต่แรกว่า คุณมีสิทธิ์รับมรดกแทนที่ พยายามหาฎีกามายืนยัน เป็นมั่นเหมาะ แต่ยังไม่เชื่อกัน ต้องไปถามที่ศาลอีก  วนไปเวียนมา เหมือนพายเรือในอ่าง  สุดท้าย ก็คือพี่น้องแบ่งมรดกไม่ลงตัว...ทางออก ก็ให้น้า โอนมรดกส่วนของแม่ ให้คุณและน้องคนละเท่าๆกัน  ถ้าน้องคิดว่าถูกโต้แย้งสิทธิ ก็ให้ไปฟ้องร้องเอาเอง ครับ
บันทึกการเข้า
Freungdek
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6


« ตอบ #11 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2017, 09:29:17 am »

น้าไม่ให้ค่ะ ให้ทนายยื่นกับศาลขอแบ่ง ศาลบอกให้โอนที่ให้น้าก่อน ตามคสั่งศาลฎีกา แล้วค่อยไปฟ้องคืน แต่ทนายไม่เห็นด้วยค่ะ บอกว่าถ้าเขาขายเปลี่ยนมือจะไม่เป็นที่มรดก ส่วนน้าเองก็ยังไม่ทำอะไร ถ้ายื่นกับศาลโดยฟ้องน้าก็ยังไม่ได้ค่ะ เพราะฉโนดยังเป็นชื่อเเม่ค่ะ เราก็บอกกับศาลบนบัลลังค์แล้วว่าเรามีสิทธิ ศาลบอกให้ถอนฟ้องก่อนศาลไม่เล่นด้วยอ่ะค่ะ ศาลบอกว่ามีสิทธิ์ แต่ให้แม่ไปโอนยยกที่ให้น้าก่อน แล้วค่อยฟ้องทีหลัง พอคุยกับน้า ๆ บอกเขาไม่ให้ เพราะศาลสั่งให้ยกให้น้า ถ้าเราจะฟ้องก้อโอนที่มาก่อน ต่ทนายนุ่ไม่ยอมให้แม่โอนค่ะ พราะถ้าน้าขายกลัวเรียกคืนไม่ได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
อนัตตา
รุ่นใหม่
*

ค่าพลัง: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 22


« ตอบ #12 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2017, 09:53:33 pm »

การแบ่งมรดก
 ต้องใช้การเจรจาตกลงกันทั้ง  4 ฝ่าย  คือ  แม่  น้า  ตัวคุณ  และน้อง ให้ลงตัว คือ ให้แม่โอนที่ดิน ให้น้า  กึ่งหนึ่ง ตามสิทธิ์ อีกกึ่งหนึ่ง  ก็แบ่งคุณและน้อง คนละเท่าๆกัน หรือเจรจาแบ่งเป็น 4 ส่วนเท่าๆกันก็สามารถทำได้.... ถ้ายังถือทิฐิต่อกัน ก็ไม่ต่างจากการ ชักเย่อ  คงไม่จบลงง่ายๆ  เรื่องแบบนี้ จะใช้กฎหมายแก้ไขอย่างเดียวคงไม่ได้  ต้องใช้การเจรจากันเท่านั้น  ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น


Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.386 วินาที กับ 20 คำสั่ง